การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม Fieldwork and data collection in local communities

Main Article Content

ปัญญา เลิศไกร
ลัญจกร นิลกาญจน์

Abstract

การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม  มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนวทางการเก็บข้อมูล งานวิจัยชุมชนภาคสนาม  ให้กับนักวิจัยที่ออกแบบการวิจัยโดยใช้ข้อมูลจากภาคสนามเป็นหลัก โดยศึกษารวมรวบและสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการ  แนวทางให้กับนักวิจัยที่ออกแบบการวิจัยในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการปฏิบัติการภาคสนาม 

การวิจัยชุมชนภาคสนาม  เป็นวิธีการศึกษาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นการเข้าไปศึกษาเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชนเป้าหมาย  และใช้กระบวนการเก็บข้อมูลในชุมชนอย่างเป็นระบบ  นำข้อมูลที่ได้มาจากภาคสนาม ซึ่งเป็นข้อมูลที่ปราศจากอคติ ไม่มีความรู้สึกของผู้เก็บข้อมูลเข้าไปเกี่ยวข้อง ต้องมี            การตรวจสอบความน่าเชื่อถือแล้วนำมาวิเคราะห์  สังเคราะห์ด้วยหลักการเชิงทฤษฎี  ใช้กระบวนการทางสังคม  ให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้น 

การวิจัยเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของชุมชน  เป็นการศึกษาเพื่อเรียนรู้ รับทราบเรื่องราวต่างๆ ของชุมชน  ทำให้ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับชุมชน เพื่อนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ สู่วิธีการวิจัยและพัฒนา มาใช้เป็นแนวทางการศึกษาชุมชน  ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนที่ศึกษา และต้องได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน อันนำไปสู่องค์ความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์จริง ที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ทั้งด้านวิชาการและการพัฒนาชุมชนต่อไป

Fieldwork and data collection in rural communities’ processes have the objectives to present guidelines in undergoing fieldwork for researchers based on data that primarily collected from fieldwork. The assessment and synthesis of principles and knowledge would offer perspectives that would be beneficial for research designs.

Community fieldwork is a method that uses scientific techniques in learning about local communities’ objectives. The data collected would be appropriately followed protocol. The information must be objective without personal affiliations or perspectives of the data collectors. The data then must undergo quality assessment to ensure objectivity by following the social norm of that community where the information would be conveyed naturally.

The research’s aim to learn about the various structures within the community in order to analyze and synthesize a method that would accurately assess the community. Henceforth, cooperation from the community also plays the part that attribute to practical community development and academic development. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ปัญญา เลิศไกร

คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ลัญจกร นิลกาญจน์

ศูนย์การเเพทย์ชั้นคลีนิค  โรงพยาบาลมหาราช  นครศรีธรรมราช