ศึกษากระบวนถ่ายทอดแนวคิดของหนังสุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติกับการ พัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชผ่านศิลปะการแสดงหนังตะลุง Study procedure applying the property of the film artist national Suchart subsin With the development of local communitie

Main Article Content

สุรินทร์ ทองทศ

Abstract

งานวิจัย เรื่อง การศึกษากระบวนถ่ายทอดแนวคิดของหนังสุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติกับการ พัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชผ่านศิลปะการแสดงหนังตะลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เพื่อการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างยั่งยืน 2)ศึกษากระบวนถ่ายทอดแนวคิดของหนังสุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นผ่านตัวละครหนังตะลุง 3)เพื่อศึกษาการรับรู้แนวคิดด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจากหนังสุชาติ ทรัพย์สิน ผ่านตัวละครหนังตะลุงของผู้ชมหนังตะลุงที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในด้านสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาการถ่ายทอดและการอนุรักษ์วัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงทั้งรุ่นเก่า รุ่นกลาง และรุ่นใหม่ เพื่อให้สามารถดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรมในปัจจุบัน

ผลการวิจัยพบว่าการถ่ายทอดการแสดงหนังตะลุงที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในด้านสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในด้านสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราชในหลายประการ ประกอบด้วย การพัฒนาด้านตัวหนังตะลุง เช่น พัฒนาเกี่ยวกับการฟอกหนัง การพัฒนาเกี่ยวกับสีที่ใช้ในการระบายภาพหนังตะลุง การพัฒนาขนาดของตัวหนังตะลุง การพัฒนารูปแบบของตัวหนังตะลุง การพัฒนาด้านโรงหนังตะลุง/จอหนังตะลุงและไฟ การพัฒนาด้านการออกตัวหนังตะลุง/ฉาก/ลีลาการเชิดรูปเล่นเงา การพัฒนาด้านบทหนังตะลุง/บทกลอน/สาระการแสดง การพัฒนาด้านเครื่องดนตรี/เครื่องเสียง การพัฒนาด้านราคาหนังตะลุง การพัฒนาด้านผู้ชม การพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุง การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อการคงอยู่ของหนังตะลุง การพัฒนาเกี่ยวกับการฝึกหัดเล่นหนังตะลุงของนายหนังตะลุงในยุคปัจจุบัน

The research on “Study of procedure applying the property of the national film artist  Suchart  Subsin  with the development of local communities in Nakhon Si Thammarat province shadow over the characters.” is aimed at study the dynamics changing concerning to social and local culture of the shadow puppet performance in Nakhon Si Thammarat province. It has also studied some adaptive processes in between of the current social and cultural change that to be able maintaining their cultural for good. However, this research study has played an important role to reveals the current propagation and preservation of both old and new generations of Talung shadow puppet performance in order to preserve such a kind of this invaluable culture.

The result of research reveals that transforms in Talung shadow puppet performance in Nakhon Si Thammarat are relevant to the changes of people’s life style in so many respects. The change is also up to a transform of puppet materials: changing of leather’s making, changing of color using on leather’s complexion, changing of shadow puppet’s size, changing of shadow puppet’s style, changing of shadow puppet’s theater, changing of performs step, changing of shadow puppet’s formatting, changing of musical compose and electrical appliance of light and sound. However, the most impact to shadow puppet performance’s survival is the changing of economic (high cost of living) and progression of information technology. All changes will be affected to the stability of shadow puppet performance.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

สุรินทร์ ทองทศ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช