ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 2 The Relationships Between Transformational Leadership and Organisational Environment of School Admin

Main Article Content

ณัฐธยาน์ ทวี
สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์
โสภณ เพ็ชรพวง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ระดับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 315 คน  ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น  แล้วสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลากที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

           ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล รองลงมา คือ การกระตุ้นเชาว์ปัญญา การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านบรรยากาศองค์การ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ บรรยากาศแบบรวมอำนาจ รองลงมา คือ บรรยากาศแบบสนิทสนม  บรรยากาศแบบปิด บรรยากาศแบบเปิด และบรรยากาศแบบควบคุม ตามลำดับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์การในทางบวกบวกในระดับค่อนข้างต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .44)  

The objectives of this research were to study the level of transformational leadership, level of organizational environment and the relationship between transformational leadership and organizational environment of schools. The samples of the research were 315 teachers working in schools under Surat Thani Primary Educational Service Area Office 2 in 2014 academic year by using stratified random sampling method, then simple random sampling by draw which had reliability at 0.92. Statistic tests were mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient analysis.  

The research found that the transformational leadership of school administrators overall was at average level. However, the highest level was the individual consideration aspect, then the intellectual simulation, ideal influence and creating inspiration respectively. Taking into the account of organizational environment aspect, the highest level was the centralize power environment, and then friendly environment, closed environment, opened environment and controlled environment, accordingly. The results of relationship analysis showed that the transformational leadership positively correlated with organizational environment significantly rather low at .01 (r=.44). 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐธยาน์ ทวี

นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์

มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี

โสภณ เพ็ชรพวง

มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี