วัฒนธรรมการแต่งกายบาบ๋าจังหวัดพังงา BABA Dress Culture of Phang-nga Province

Main Article Content

จิตตาภรณ์ กล่อมแดง
อรุณวรรณ มุขแก้ว
จีรณัทย์ วิมุตติสุข

Abstract

         งานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาองค์ความรู้วัฒนธรรมการแต่งกายบาบ๋าของจังหวัดพังงา และศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายบาบ๋าจังหวัดพังงา ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงปรากฏการณ์จริงที่ปรากฏในสังคม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการศึกษาข้อมูลเชิงลึก เป็นการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ งานวิจัยและศึกษาภาคสนาม


         วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวบาบ๋า มีลักษณะผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรมการแต่งกายแบบจีน วัฒนธรรม การนุ่งผ้าปาเต๊ะอย่างมลายูและวัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตก การแต่งกายชายและหญิงชาวบาบ๋า ในอดีตจะเปลี่ยนแปลงไปตามฐานะ เพศและยุคสมัย ส่วนปัจจุบันการแต่งกายบาบ๋าในจังหวัดพังงา ผู้หญิงนิยมสวมเสื้อคอตั้งแขนจีบและสวมผ้าปาเต๊ะ ผู้ชายนิยมสวมชุดนายเหมืองอันถือเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายอย่างหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในจังหวัดพังงา


           แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายบาบ๋าจังหวัดพังงา เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน ในลักษณะของการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วนในจังหวัดพังงา


           This research aimed to study the body of knowledge toward BABA Dress Culture of Phang-nga Province, Thailand, and to study the Dress Culture’s conservative method/ways. This study was the phenomenological paradigm and the methodology was the qualitative research by using methods of documentary research, textual analysis, in depth interview and field study.


           BABA Dress Culture of Phang-nga Province had a mixed characteristic of Chinese Dress Culture, Malays’ Pateh Dress Culture and Western Dress Culture. In the past, BABA Dress Culture of Phang-nga Province was different by economic status, gender, and era. Presently BABA Dress Culture of Phang-nga Province was widely known as one of Phang Nga Identities.


The conservative ways of BABA Dress Culture of Phang-nga Province were a result of cooperations among several sectors.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2553. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.culture.go.th/ subculture9/images/stories/files/rule/culture_2553.pdfm. [18 เมษายน 2559].
เกรียงไกร ฮ่องเฮงเล็ง. (2554). การเมืองเรื่องชาติพันธุ์และอัตลักษณ์ของไทยทรงดำ : ศึกษากรณีอำเภอเขา
ย้อย จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต). สาขาวิชาสังคมวิทยา, ภาควิชา
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). สังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชมรมชาวบาบ๋าฝั่งทะเลอันดามัน. อัตลักษณ์และการแต่งกายชาวบาบ๋าฝั่งทะเลอันดามัน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :https://andaman365.blogspot.com/2015/10/baba_2.html. [3 กันยายน 2559].
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
ปราณี สกุลพิพัฒน์ และคณะ. (2555). รายงานผลการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “การแต่งกายของชุมชนบาบ๋าเพอรานากัน”. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
วรดี เลิศไกร, จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม–มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของ
เล่นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลันราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(1).
พัณณมาศ พิชิตกุล, สมพร จารุนัฎ, สารินทร์ มาศกุล, ศรีสะอาด ตั้งประเสริฐ. (2531). ขอบข่ายภูมิศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
วิมล จิโรจพันธุ์, ประชิด สกุณะพัฒน์, กนิษฐา เชยกีวงศ์. (2551). มรดกทางวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.
วิมล โสภารัตน์. ประวัติความเป็นมาของเมืองพังงา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.kuapa.com. [18 สิงหาคม 2559].
. เล่าเรื่องเมืองตะกั่วป่า. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.kuapa.com. [18 สิงหาคม 2559].
ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). เรื่องน่ารู้ อัญมณีและเครื่องประดับในอาเซียน. ฉะเชิงเทรา: โรงพิมพ์สิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
อมรา พงศาพิชญ์. (2541). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพรรณ ฐานะศิริพงศ์. (2555). กระแสวัฒนธรรมจีนบาบ๋า ในบริบทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: ศึกษาเฉพาะกรณีถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต), สาขาวิชามานุษยวิทยา, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Nguyen Thi Thuy Chau. (2549). วัฒนธรรมการแต่งกายของคนไทดำในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม:
กรณีศึกษาหมู่บ้านป๊าน ตำบลเจี่ยงลี่ อำเภอถ่วนเจิว จังหวัดซินลา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.