พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ The Leader Behavior of School Administrators Effecting to the Participation of the Academic M

Main Article Content

อภิวัฒน์ วัชราพงษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสภณ เพ็ชรพวง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรจง เจริญสุข

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ประชากร ได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 216 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 140 โรงเรียนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย กำหนดผู้ให้ข้อมูลเป็นประธานกรรมการสถานศึกษา 1 คน ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน 1 คน และผู้แทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษา 1 คนรวมทั้งสิ้น 420 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์       โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  สถิติทดสอบ ได้แก่ สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r = .562) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการโน้มน้าวจิตใจ ด้านการมีความคิดริเริ่ม และด้านการประสานงาน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 34 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract


The objectives of this research were to study, The Leader Behavior of school administrators, effecting to the participation of the academic management of basic education Institution committees, Relationship between Leadership Characteristics of School Administrators and participation in academic administration of basic education Institution committees  and leadership behaviors of school administrators effecting to participation of the Academic Management of Basic School Board Committees under Krabi Educational Service Area Office.  The population was 216 schools. The sample consisted of 140 schools. by simple random sampling.  Data were collected from the chairman, parent epresentative, and teacher representative of the Basic Education Institution committees, totalling  420 persons, using a questionnaire with the reliability of 0.90. Data analyzed by using mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis.


The research found that Leadership Behaviors of School Administrators overall and individual aspects was at high level. Participation in academic administration of the Basic Education Institution Committees Overall and individual aspects was at high level. The leadership behaviors of school administrators were positively and moderately positively correlated (r= .562) at the .01 level of significance. The Leader Behavior of school  administrators, Persuasive, The initiative. and coordination  Factors affecting the participation in the academic administration of Basic Education  Institution committees by predicting 34 percent at the .05 level of significance.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) และที่
แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กฤชภร สุวรรณวิหค. (2558). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาตามบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฐสุราษฎร์ธานี.
โกเมศ โตอินทร์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการ
ทำงานของครูในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. (ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ดุษฎี ศรีจำปา. (2557). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนใน
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.


เด่นมหาชัย นันธิษา. (2557). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ
ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
นัฐกานต์ รักชนบท. (2556). การศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเกาะจันทร์ สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
พิสณุ ฟองศรี. (2552). วิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ภานิตา สกุลฮูฮา. (2555). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา.
มณเฑียร รอดประเสริฐ. (2554). แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการ
สถานศึกษาในสังกัดงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุทัยธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
รจนา แพพิพัฒน์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วรดี เลิศไกร จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของเล่นภูมิ
ปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(1).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. (2558). สารสนเทศทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากระบี่. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่, กระทรวงศึกษาธิการ.
สุภาพ เพ็ชรเรือนทอง. (2556). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาไว้
ข้าว ตำบลดินแดง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่. (ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหาร
การศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
อัมรินทร์ ซำสุรีย์. (2555). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ฉะเชิงเทรา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราช
ภัฏราชนครินทร์.


อาภรณ์ ดิษฐปาน. (2550). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลคณาพรอำเภอ
ปลายพระยาจังหวัดกระบี่. (ภาคนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Best, John W. (1986). Research in Education. 5th ed. New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Cohen, J. M. & Uphoff, N.T. (1980). Participation’s Place in Rural Development Seeking Clarity
Through Specificity. In World Development. 8(3), P.219-222.
Conbach, Lee Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.
Griffths, D. E. (1956). Human Relations in schools Administration. New York: Appleton –
Century Crofts.
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw Hill Book.
Stogdill, Ralph. M. (1974). Handbook of leadership : A survey of theory and reseaech. New
York: The Free Press