ประเพณีบุญสารทเดือนสิบเมืองนคร The Festival of the Tenth Lunar Month (Sat Duan Sip) in Nakhon Si Thammarat

Main Article Content

ดร.สุดาวรรณ์ มีบัว

Abstract

บทคัดย่อ


ประเพณีบุญสารทเดือนสิบเป็นประเพณีสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชมายาวนาน เกิดจากความเชื่อเรื่องวิญญาณและกรรมประกอบกัน ทั้งนี้ประเพณีบุญสารทเดือนสิบตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องกรรม สวรรค์  นรก  และวิญญาณ  ผู้ทำดีเมื่อถึงแก่กรรมย่อมสู่ภูมิที่ได้สุขสบายบนสวรรค์ ส่วนผู้ที่ทำความชั่วเมื่อถึงแก่ความตายย่อมสู่แดนแห่งทุกข์ตกอยู่ในนรก หรือเป็นเปรต  รับทุกข์ตามผลกรรมที่ก่อไว้ ดังนั้นเมื่อถึงช่วงเวลานี้ลูกหลานจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำบุญอุทิศแก่วิญญาณทุกข์ยากในช่วงบุญสารทเดือนสิบ โดยทำในวันรับ ตรงกับแรม 1ค่ำเดือนสิบ และในวันแรม 14 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ เป็นวันส่ง ทั้งนี้ การเตรียมการสำหรับประเพณีสารทเดือนสิบเป็นวันที่เรียกว่าวันจ่าย โดยหาซื้อสิ่งของจากท้องตลาด ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องนำไปทำบุญตักบาตรถวายพระ คือเสบียงอาหารและผักผลไม้ ของคาวและหวาน เครื่องครัว ของใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และขนมประเพณีต้องมีขนม 5 อย่าง คือ ขนมลา ขนมพอง ขนมดีซำ ขนมกงและขนมบ้า รูปแบบจัดหมฺรบ แล้วแต่จะจัดแบบใด เช่น จัดในกระจาด จัดในกะละมังหรือกระบุง หรือคิดออกแบบเอง การประกอบพิธีกรรม คือ การยกหมฺรบ การตั้งเปรต การฉลองหมฺรบและการบังสกุล ทั้งนี้ในปัจจุบันนี้ประเพณีบุญสารทเดือนสิบเมืองนครยังเป็นประเพณีที่สำคัญและมีเอกลักษณ์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงในการจัดงานเทศกาลประเพณีได้ถูกนำมาจัดอย่างใหญ่โตเป็นงานที่รื่นเริง สนุกสนาน มีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการตลาดจนลืมความเหมาะสม


Abstract


The festival of the tenth lunar month or Sat Duan Sip is the priceless and symbolic tradition in Nakhon Si Thammarat for a long time. Spirit and Karma are two important concepts in forming this tradition. Besides, the tradition is based on the beliefs of Karma, Heaven, Hell, and Spirit. Those who always do good deeds will have a good life after death in heaven when they pass away. On the other hand, those who do bad deeds will be in hell, the land of suffering, when they pass away. Those who are in hell become hungry ghosts and are punished for the bad things they have done. Each year, in the tenth lunar month on 14th or 15th waning moons, there will be a major cultural event held by ascendants or relatives to make merit and show respect and gratitude to not only their deceased ancestors but also to other suffering spirits. To prepare making merit, people will buy many things used in making merit which are fruit and vegetable, meat dish and desserts, kitchen utensil, useful things for everyday life. However, the most important thing to prepare is five traditional desserts which are Khanom La, Khanom Pong, Khanom Deesum, Khanom Gong and Kanom Bah. All of traditional desserts will be placed on beautifully decorated trays called Mrup. There are various ways to decorate Mrup for examples, decorating in wicker basket, enameled basin or bamboo basket, or other containers depending on what inspires you. There are four important parts to perform the tenth month merit-making tradition as follows: 1) carrying Mrup to the temple, 2) putting some food and desserts on the ground, bottoms of big trees, or walls of the temple for hungry ghosts, 3) celebrating Mrup, and 4) laying a funeral robe. Nowadays the tenth month merit-making tradition is still important and unique but there is something changing in organizing this festival. The festival has been organized as a big and entertaining festival. More fun activities are used as marketing communication tools to promote and advertise the festival. With this change, some beautiful culture and appropriate ways in making merit have been ignored or forgotten.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เกษม จันทร์ดำ. (2549). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครศรีธรรมราช. โรงพิมพ์กรีนโซน: นครศรีธรรมราช.
จันทรา ทองสมัคร. (2547). ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช.
วิเชียร ณ นคร และคนอื่นๆ. (2521). นครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2553). ข้อมูลด้านศิลปะและวัฒนธรรม. สำนักงานวัฒนธรรม
จังหวัดนครศรีธรรมราช กระทรวงวัฒนธรรม.
สุดาวรรณ์ มีบัว. (2555). นครศรีธรรมราช:ดินแดนพุทธภูมิ การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวทาง
วัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
พระมหาเทพรัตน์ อริยว์โส, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). รูปแบบการจัดกิจกรรมบูรณา
การเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม วัดพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร
นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).