การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 The Management to be Effective of Moderate Class More Knowledge in Study Time and Increase Knowledge

Main Article Content

โซเฟีย อีซอ
รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร
ดร.สมคิด นาคขวัญ

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์การทำนายของการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู จำนวน 1,499 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 306 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติทดสอบ ได้แก่ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของผู้บริหารในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนกิจกรรม  ด้านการประเมินกิจกรรม ด้านการดำเนินการตามแผน และด้านการทบทวนและปรับปรุงกิจกรรม ประสิทธิผลกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ จากมากไปน้อย ดังนี้ กิจกรรมการพัฒนาจิตใจ กิจกรรมการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ กิจกรรมการพัฒนาสมอง และกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพ การบริหารจัดการที่ส่งผลกับประสิทธิผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง และการบริหารจัดการด้านการวางแผนกิจกรรมและด้านการดำเนินงานตามแผน ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกกิจกรรม


Abstract


This study aimed to investigate management affecting the effectiveness of moderate class more knowledge programme and to develop the prediction equation of management affecting the effectiveness of moderate class more knowledge programme according to the perception of teachers under Suratthani Primary Educational Service Area Office 3. Population for this study consisted of 1,499 teachers and 306 of sample from simple random sampling method. Data were collected using a questionnaire with confidence level of 0.94. Data were analyzed using basic statistics such as mean, standard deviation and Pearson correlation coefficient. Test statistics included stepwise multiple regression analysis.


The results of this study found that managing of moderate class more knowledge of school in overall were at a high level. Sorted in descending order as follows: activity plan, evaluation activities, operation plan and revision and improvement activities.The effectiveness of the moderate class more knowledge of school in overall were at a high level. Sorted in descending order as follows: mind development activities, practical skill development activities, brain development activities and physical development activities. Management affecting the effectiveness of moderate class more knowledge programme was highly positively related. Managing activity plan and operation plan affected the effectiveness of moderate class more knowledge programme with statistical significance of 0.01 in all activities.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กฤษฎา น้าคณาคุปต์. (2556). ประสิทธิภาพ/การพัฒนาองค์กรหลังการตรวจประกันคุณภาพการศึกษาของ
คณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (รายงานวิจัยคณะทัศนมาตรศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เกษมศานต์ อาปะโม. (2558). การพัฒนางานวิชาการโดยใช้กระบวนการบริหารคุณภาพวงจรเดมมิ่ง (PDCA).
(รายงานวิจัยโรงเรียนบ้านเนินทุ่ง(ชื่นประชาราษฎร์บำรุง) ). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์
ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ธนู นวลเป้า. (2558). กลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตาก. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
นารี โม่งประณีต. (2557). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามทฤษฎีวงจรคุณภาพเดมมิ่ง
(PDCA) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6. (งานนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิจวรรณ วีรวัฒโนดม และคณะ. (2557, กันยายน 2557– กุมภาพันธ์ 2558). การดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษาตามวงจรคุณภาพเดมมิ่งเพื่อผลลัพธ์ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา. วารสาร
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 26(1).
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
บัณฑิต เหมือดอดทน. (2559). การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การบริหารคุณภาพของเดมมิ่ง (Demming Cycle
PDCA) ของในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ในจังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์. วิทยาลัยสันตพลอุดรธานี.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
พัฒนา พงษ์สนิท. (2557). การพัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กตามเกณฑ์มาตรฐานเด็กเล็กน่าอยู่ : กรณีศึกษาศูนย์
เด็กเล็กเทศบาล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์). สาขาการจัดการระบบสุขภาพ,
คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ่งฤดี กล้าหาญ และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายของไทยในศตวรรษที่ 21. (รายงานการวิจัย).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
วันเพ็ญ สืบสกุลพรหม. (2556). บทบาทครูสังคมศึกษาด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาการ
สอนสังคมศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรัณย์ เจียระไน. (2556). สภาพและความต้องการการจัดกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษาสถาบันการพล
ศึกษา. (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาการกีฬานันทนาการและการท่องเที่ยว. ภาควิชาสันทนาการ, คณะพล
ศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียนลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. เอกสาร
ประกอบการประชุมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียนตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลา
รู้. เอกสารประกอบการประชุมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 3. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ
2558.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2559). เกณฑ์การประเมินระดับพฤติกรรมของ
นักเรียนตามกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (กิจกรรม 4H). เอกสารประกอบการประชุม.
สิริ์กาญจน์ สิงห์เสน. (2556). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชา
หลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
สมศรี ฐานะวุฒิกุล. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ
ประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะ
ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภาพร ชูสาย. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาทักษะ
ชีวิตด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. กลุ่มวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
อรชา เขียวมณี. (2556). การใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม
ทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรังสิต.