แนวทางการพัฒนากองทัพไทยด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ Thai Military Development Guidelines on Cyber Security

Main Article Content

ธาราทิพย์ กัลยาณมิตร

Abstract

บทคัดย่อ


 


สถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลต่อความมั่นคงของนานาประเทศในหลายมิติ รวมทั้งประเทศไทยมีสิ่งบ่งชี้ว่าความมั่นคงของชาติได้รับผลกระทบจากไซเบอร์ในหลายระดับ ตั้งแต่รูปแบบที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน ความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมไปถึงสภาวะแวดล้อมรอบตัวเรา ล้วนแต่ส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในประเทศ โดยจะใช้ในลักษณะการจารกรรม การก่อการร้าย รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการก่อกวนหรือทำลายความสงบเรียบร้อยของประเทศฝ่ายตรงข้าม ความตระหนักถึงศักยภาพของไซเบอร์ต่อความมั่นคงของชาตินั้นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก ซึ่งหลายประเทศพยายามสร้างและพัฒนาขีดความสามารถทางไซเบอร์ เพื่อบ่งชี้ว่าประเทศของตนมีศักยภาพที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบและความสามารถในการแข่งขันด้านต่างๆ แต่ยิ่งมีความก้าวหน้าและพึ่งพาไซเบอร์มากเพียงใด ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อ
ความมั่นคงของชาติจากไซเบอร์มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพแวดล้อมของภัยคุกคามความมั่นคงด้านไซเบอร์ และให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากองทัพไทยด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดย
ทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิอันได้แก่เอกสารวิชาการที่มีอยู่แล้ว และได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่ปฏิบัติงานจริงทางด้านไซเบอร์ภายในกองทัพไทย โดยผลการศึกษาพบว่า ในระดับนโยบายควรสร้างความร่วมมือทางไซเบอร์ระหว่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียน ควรกำหนดนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ควรเชื่อมโยงการทำงานด้านไซเบอร์ในภาพรวมทั้งการปฏิบัติยามปกติและการปฏิบัติในสถานการณ์จริง และควรบรรจุเรื่องไซเบอร์เข้าไปอยู่ในแผนป้องกันประเทศ ในขณะที่ระดับปฏิบัติควรมีการสร้างเครือข่ายไซเบอร์ในภาพรวม ควรได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรผลิต Software/ Hardware ทางไซเบอร์ขึ้นใช้เอง ควรมีการฝึกร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านไซเบอร์ของกองทัพ ควรนำเรื่องไซเบอร์บรรจุเป็นวิชาในหลักสูตรโรงเรียนทหารทุกระดับ ทุกเหล่าทัพ ควรเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที และฟื้นคืนระบบกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ควรมีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไซเบอร์ ควรผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ หน่วยงานทางด้านไซเบอร์ควรมีกระบวนการรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์หลายรูปแบบ และควรสร้างความตระหนักรู้ให้แก่กำลังพลและประชาชนทั่วไป


 คำสำคัญ: การพัฒนากองทัพไทย, ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์


 


Abstract


 


  Today’s rapid changes of the global situation inevitably affect the international security in many dimensions. Including Thailand, there are numerous indications that national security is affected by cyber at different levels, starting with a pattern affecting the general public’s daily lives, the public confidence in the reliability of a country’s economic and socio-political systems as well as the other environmental settings around us. Also, cyber has had a disastrous effect on a state’s peace and security as it is used in espionage and terrorism as well as a possible tool to disrupt or destroy peace and order in the targeted country. Thus awareness of the potential of cyber security to national security is widespread worldwide. Many countries are trying to build and develop cyber capabilities creating their competitive advantages and cyber potential. However, it seems that the more advanced technology is and the greater degree of a state’s dependency on cyberspace inevitably increase the greater the risk of cyber-incidents, as well as the greater the risk of national security being compromised.


This study aims to examine the present environments of cyber ​​security threats and offer recommendations on the development of the Thai military’s cyber security by means of analyzing secondary data - including existing academic papers -and in-depth interviews with those who have actual cyber-related work experience within the Thai Armed Forces. The study found that at the policy level, international cooperation in the ASEAN region should be established; the National Cyber ​​Security Policy should be developed. Virtual connections and possible cyber activities should be linked and properly integrated to generate the overview operations pictures of both general situations and critical activities; the national defense should plan to cover more cyber aspects; at the operational level, virtual networks in cyberspace should be built and supported by the relevant agencies; own software / hardware should be developed and materialized; joint training and training exercises should be conducted regularly the military cyber agencies. Cyber ​​subjects should be included in all military curriculum and courses; Emergency response and readiness be prepared and rehearsed so as to respond to emergency situations promptly and restore the system back to normal as soon as possible. Cyber-related information and issues should be shared between and among relevant agencies; personnel for cyber should be recruited and developed persistently; Cyber ​​agencies should be prepared and readied for a variety of cyber threats; and cyber security awareness should be raised regularly for the army and the general public.


 Keywords: Thai Military Development Guidelines, Cyber Security

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)