การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้าพิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ดนุพล สืบสำราญ
ธีรยุทธ เสาเวียง

บทคัดย่อ

          จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรม เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนลิ้นฟ้าพิทยาคม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ชุดกิจกรรมวิชาวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test) ชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Sample)


          ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรม เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 (87.73/85.77) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (80/80) ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทาง   การเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยชุดกิจกรรม เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นชุดกิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในชั้นเรียน หรือเป็นต้นแบบในการพัฒนา เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ไผทฉันท์. (2541). ผลการใช้ชุดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมตามวิธีการวิจัยในการพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมชุมนุมของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดฝึกกระบวนการคิดกับการสอนโดย ใช้ผังมโนมติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร).

นพคุณ แดงบุญ. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

เนื้อทอง นายี่. (2544). ผลการใช้ชุดกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการสอนโดยครูเป็นผู้สอนที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

รุ่งนภา เบญมาตย์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการ.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุทธิพงษ์ พงษ์วร. (พฤศจิกายน–ธันวาคม 2552). “จุดประกายให้รอบรู้ : การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับการนำมาใช้ในการดำรงชีวิต”. สสวท. 38 , 7-10.