การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

Main Article Content

ภัทริกา อาจจุลฬา
เอกราช ดีนาง
พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องทางการเรียน และ3) เพื่อศึกษาจุดบกพร่องทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยจำแนกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้หาค่าความยากและอำนาจจำแนก จำนวน 100 คน ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ จำนวน 100 คน และค้นหาจุดบกพร่องของแบบทดสอบ จำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบเพื่อสำรวจจุดบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้วิธีการเทคนิคกลุ่ม   รู้ชัด ค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันของ ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ


 ผลการวิจัยพบว่า


  1. การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ 1) แบบทดสอบเพื่อสำรวจจุดบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เป็นแบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 5 ฉบับ มีทั้งหมด 50 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ .80 – 1.00 2) แบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ฉบับ มีทั้งหมด 100 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ .80 – 1.00

  2. แบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 5 ฉบับ ตัวถูก มีค่าความยากตั้งแต่ .50 – .76 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .36 – .93 ตัวลวง มีค่าความยาก .05 – .29 ค่าอำนาจจำแนก .08 – .82 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า .90, .92, .89, .92 และ .92 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง มีค่าตั้งแต่ 21.15 ถึง 31.92 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ตั้งแต่ .78 ถึง .88 ซึ่งอยู่ในระดับที่สูง

  3. จุดบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความบกพร่องในการคำนวณส่วนที่เป็นการดำเนินการของจำนวน มากที่สุด รองลงมาคือการคำนวณส่วนที่เป็นการใช้สูตร การแปลความหมายของโจทย์ และความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา ตามลำดับ หากแยกตามรายเนื้อหาพบว่ามีปัญหามากที่สุดใน เรื่อง แก้ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากและรูปสามเหลี่ยม รองลงมาคือ ปริมาตรหรือความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมและรูปสามเหลี่ยม ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2560. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560, จาก https://drive.google.com/drive/folders/0B5Wdnjy.

จตุพร แสนเมืองชิน. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ชมพู มาหา. (2545). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยวิขาคณิตศาสตร์ ด้านทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง การบวก ลบ คูณและหารทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

ทิวาพร รักศิลป์. (2553). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).

นฤมล อุดรประจักษ์. (2555). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบสมการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

บรรทง อาศนะ. (2553). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).

สุภาพ วชิรศิริ. (2544). การสร้างและการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ด้านการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร โดยใช้สมการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Boyden, Joanne Marie. (1970, October) Construction of a Diagnostic Test in Verbal Arithmetic Problem Solving at the Fifth Grade Level, Dissertation Abstracts International. 31(4):1504– A.

Lindquist, E. F. (1966). Educational measurement. Washington D.C.: American Council on Education.