ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ธณัฐ วรวัตน์
สัญญา เคณาภูมิ
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในจังหวัดนครราชสีมาและศึกษาข้อเสนอแนะอื่นๆ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 198 คน โดยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ใช้การวิเคราะห์พหุคูณถดถอยเชิงเส้น (Multiple Linear Regression Analysis)


          ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ ปัจจัยด้านเครือข่ายองค์กรชุมชน ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .58 สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรได้ ร้อยละ 33 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะอื่นๆ ได้แก่ ผู้นำควรสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดการท่องเที่ยว ประชาชนควรอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชุมชนของตนเอง ควรประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2550). การศึกษาความสำเร็จของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ. สืบค้น เมื่อ12 ธันวาคม 2561, จาก http://www.cdd.go.th/index2.php.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม : ฝ่ายผลิตเอกสารและตำรา สำนักวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ลัดดาวัลย์ สําราญ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1. (629 – 637). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

วิสิทธิ์ ยิ้มแย้ม และอุษณากร ทาวะรมย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ประยุกต์, 11(1), 39 - 50.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายของการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (2561). รายงานการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา.

Philip Kotler. (2003). Marketing Management. 11th ed. Upper Sanddle River, New Jersey : Prentice Hall.

Yamane, Taro. (1973). Statistics, An Introductory Analysis. (3rd ed). New York : Harper and Row.