ทัศนคติที่มีผลต่อความตั้งใจในการประกอบธุรกิจ Startup ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 4 ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ขวัญกมล ดอนขวา
ปวงปณต สอบขุนทด
วาสนา ทองอยู่
สุไพรินทร์ แน่นอุดร
แวววิไล เครื่องพาที

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความตั้งใจในการประกอบธุรกิจ Startup 2) เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติที่มีผลต่อความตั้งใจในการประกอบธุรกิจ Startup และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านหลักสูตรการศึกษาที่มีผลต่อทัศนคติในการประกอบธุรกิจ Startup เก็บข้อมูลจากนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 4 ในหลักสูตรการจัดการหรือบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศหรือนิเทศศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 200 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน


          ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 4 มีระดับความตั้งใจในการประกอบธุรกิจ Startupในภาพรวมอยู่ในระดับมากด้วยค่าเฉลี่ย 3.65 2) ปัจจัยทัศนคติด้านพฤติกรรม และด้านความรู้/ความเข้าใจ มีผลต่อความตั้งใจในการประกอบธุรกิจ Startup ด้วยค่าอิทธิพล 0.512 และ 0.137 ตามลำดับ ยกเว้นทัศนคติด้านความรู้สึกไม่มีผลต่อความตั้งใจในการประกอบธุรกิจ Startup และ 3) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เรียนในหลักสูตรการศึกษาที่แตกต่างกันจะมีความแตกต่างในระดับทัศนคติด้านความรู้/ความเข้าใจ และด้านความรู้สึก โดยนักศึกษาในหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศหรือนิเทศศาสตร์มีระดับความรู้ความเข้าใจในระดับที่มากกว่าหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนทัศนคติด้านความรู้สึกพบว่ามีความแตกต่างกันน้อยมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติน โกยวิริยะกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผันตัวเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพของนักพัฒนาซอฟต์แวร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น Startup. (2560). ทิศทางสตาร์ทอัพไทยในปี 2019. วารสาร Startup Thailand, 15, 4–13.

ณัฐวุฒิ วิเศษ. (2552). คุณลักษณะและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสาขาการเป็นผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยราชพฤกษ์).

บุศกร ลิ่มภักดีประดิษฐ์. (2560). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของนิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตหลังจากจบการศึกษาที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการขายออนไลน์. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(24), 237-349.

มารยาท โยทองยศ และ ทรงวาด สุขเมืองมา. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรี: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(95), 103-115.

ศิริวัฒน์ ตั้งทรงเจริญ. (2558). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตน์. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 33(128), 49-65.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2548). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2558). โมเดลประเทศไทย 4.0 ผลักความคิด. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2561, จาก http://www.thansettakij.com/content/9303

อายุส ยุวรี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเริ่มต้นทำธุรกิจแบบ start-up. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

อนงค์ รุ่งสุข. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตน์โกสินทร์).

Blank, S. G., & Dorf, B. (2012). The startup owner's manual: The step-by-step guide for building a great company. Pescadero, Calif: K & S Ranch, Inc.

Ries, E. (2011). The Lean Startup: How Today's Entrepreneurs Use Continuous Innovation to Create Radically Successful Businesses. United States: Crown Business.

Fayolle, A., & Liñán, F. (2014). The future of research on entrepreneurial intentions. Journal of Business Research, 67(5), 663–666.

Iqbal, A., Melhem, Y., & Kokash, H. (2012). Readiness of the university students towards entrepreneurship in Saudi private university: an exploratory study. European Scientific Journal, 8(15), 109-131.

Kline, R.B. (2015). Principle and practice of Structural Equation Modeling (4th ed.). New York: Guilford publictions.

Moroni, I., Arruda, A., & Araujo, K. (2015). The Design and Technological Innovation: How to Understand the Growth of Startups Companies in Competitive Business Environment. Procedia Manufacturing, 3(Ahfe), 2199–2204.

Schwarz, E. J., Wdowiak, M. A., Almer-Jarz, D. A., & Breitenecker, R. J. (2009). The effects of attitudes and perceived environment conditions on students’ entrepreneurial intent: An Austrian perspective. Education & Training, 51(4).

Sharon, S. and Saul, M. (1996). Social psychology. Boston: Houghton Mifflin.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.

Zimbardo, P., & Ebbesen, E. B. (1970). Influencing attitudes and changing behavior: A basic to introduction relevant methodology applications reading. Massachusett: Addison-Publishing.