การจัดการความเจ็บปวดของมารดาในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา

Main Article Content

prapairat kaewsiri

Abstract

บทคัดย่อ


          ระยะคลอด ถือเป็นช่วงเวลาที่มารดาต้องเผชิญความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดมากที่สุด ซึ่งความเจ็บปวดนี้เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก ร่วมกับการเปิดขยายของปากมดลูก เพื่อผลักดันให้ทารกคลอดออกมา ทุกครั้งที่มดลูกหดรัดตัว การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและรกจะลดลง ทำให้ทารกในครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนรวมถึงส่งผลกระทบต่อมารดาให้เกิดความกลัวและวิตกกังวลเพิ่มขึ้น บทบาทของพยาบาลในการจัดการกับความเจ็บปวดของมารดาในระยะคลอดจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการจัดการกับความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยา ถือเป็นการลดการรับรู้สิ่งกระตุ้นให้เกิดการปวด และเน้นการป้องกันความทุกข์ทรมานที่อาจถูกกระตุ้นได้โดยภาวะทางจิตและอารมณ์ ซึ่งการจัดการความเจ็บปวดของมารดาในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยามีหลายวิธี ผู้เขียนได้สรุปเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ การจัดการความเจ็บปวดด้านร่างกาย และการจัดการความเจ็บปวดด้านจิตใจ ทั้งนี้เพื่อให้พยาบาลสามารถแนะนำมารดาให้เลือกใช้เทคนิคการจัดการความเจ็บปวดในระยะคลอดที่เหมาะสมกับสภาวะของตนเอง อันจะนำไปสู่ประสบการณ์การคลอดที่ดี และก่อให้เกิดความพึงพอใจในการคลอด


 


ABSTRACT


Childbirth is a time when mothers suffer from the most severe pains. Pain during labor is caused by contractions of the muscles of the uterus, distension of the cervix, and pushing the baby out. With each uterine contraction, uterine and placental blood flows are reduced. This increases both the mother’s fear and anxiety and the incidence of fetal distress. Nurses play a very important role in helping women to cope with maternal pain, by providing non-pharmacologic methods to relieve pain. Non-pharmacologic techniques help to eliminate the physical sensation of labor pain with an emphasis largely on the prevention of suffering that may be triggered by mental and emotional conditions. The non-pharmacologic approach to pain includes a wide variety of techniques. In this article, the authors have concluded into two main aspects including physical pain management and psychological pain management so that the nurse can recommend appropriate pain management techniques to mothers in the delivery period. This will lead to a better experience of childbirth and enhance women’s satisfaction with the birth experience.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)