ผลการสอนแบบเพียร์ที่เสริมด้วยกิจกรรมการลงมือปฏิบัติทางฟิสิกส์ต่อมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ปิยนุช มาลีหวล
เดชา ศุภพิทยาภรณ์

Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนแบบเพียร์ที่เสริมด้วยกิจกรรมการลงมือปฏิบัติทางฟิสิกส์ต่อมโนทัศน์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 26 คน ซึ่งเป็นจำนวนประชากรทั้งหมดที่ใช้ศึกษา ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนแบบเพียร์ที่เสริมด้วยกิจกรรมการลงมือปฏิบัติทางฟิสิกส์ จำนวน 9 แผน ซึ่งผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน (IOC > 0.80) และ 2) แบบวัดมโนทัศน์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่จำนวน 36 ข้อ ประกอบด้วยมโนทัศน์เรื่องความเร็ว ความเร่ง และกฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อของนิวตัน ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่น (KR-20) กับกลุ่มนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มทดลองได้เท่ากับ 0.91 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.22 – 0.40 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.21 – 0.74 และใช้เวลาในการดำเนินการวิจัยรวม 33 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า Class Average Normalized Gain (<g>) เพื่อดูการเรียนรู้เชิงมโนทัศน์ที่เพิ่มขึ้นของนักเรียน

     ผลการวิจัยพบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่จำนวนมาก และจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบเพียร์ที่เสริมด้วยกิจกรรมการลงมือปฏิบัติทางฟิสิกส์มีผลทำให้มโนทัศน์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ของนักเรียนถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยคะแนนมโนทัศน์โดยเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนเท่ากับร้อยละ 15.71 และ 43.27 ตามลำดับ และค่า <g> ในภาพรวมเท่ากับ 0.33 ถือว่ามโนทัศน์ของนักเรียนถูกต้องเพิ่มขึ้นระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่ามโนทัศน์ของนักเรียนบางมโนทัศน์ที่ศึกษายังมีความคลาดเคลื่อนอยู่เป็นจำนวนมาก การจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนแบบเพียร์ที่เสริมด้วยกิจกรรมลงมือปฏิบัติทางฟิสิกส์นี้ยังต้องได้รับการปรับแก้ไขในรายละเอียดเพื่อให้มโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ของนักเรียนถูกต้องเพิ่มขึ้น 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)