ความสัมพันธ์จากการแสวงหาอาหารว่างและส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

Krich Ruangchai

Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลจากการแสวงหาอาหารว่าง 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลจากการแสวงหาอาหารว่างกับการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 4,692 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 584 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบบันทึกกิจกรรมทางกายและแบบบันทึกการบริโภคอาหาร โดยใช้โปรแกรม INMUCAL-Nutrients คำนวณปริมาณสารอาหาร ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือทุกข้อคำถามมีค่ามากกว่า 0.7 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทุกด้านมีค่ามากกว่า 0.8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


     ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการแสวงหาอาหารว่างในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) กิจกรรมทางด้านร่างกาย ส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางด้านร่างกายประเภทกิจกรรมเบาเป็นร้อยละ 78.31 ของกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รองลงมาคือกิจกรรมหนักร้อยละ 16.49 การปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมทางด้านร่างกายแบบต่อเนื่องเฉลี่ย 5.57 นาที/วัน 3) การบริโภคอาหารว่างของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 323.56 กรัม/วัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มเครื่องดื่มรสหวาน ร้อยละ 87.17 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 463.16 มิลลิลิตร/วัน รองลงมาคือกินขนม ทอด ขนมกรุบกรอบ ร้อยละ 81.42 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 92.44 กรัม/วัน และดื่มนม ร้อยละ 71.77 มีค่าเท่ากับ 202.23 มิลลิลิตร/วัน 4) การแสวงหาข้อมูลอาหารว่างมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางด้านร่างกาย(r=0.64, 95% CI=0.50-0.74) 5) การรับรู้ในความต้องการอาหารว่างมีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารว่าง(r=0.45, 95% CI=0.40-0.50) และพฤติกรรมหลังการซื้ออาหารว่างมีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารว่าง(r=0.38, 95% CI=0.31-0.44)

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)