The Relationship between Body Mass Index, Pain, Social Support and the Activity Daily Living during Recovery Phase in Hip Arthroplasty Patients

Main Article Content

Wipaporn Leelertmongkolkul
Suporn Danaidutsadeekul
Wallada Chanruangvanich
Pacharapol Udomkiat

Abstract

Purpose: To explore the relationship between body mass index, pain, social support and activity of daily living (ADL) during the recovery phase in total hip arthroplasty patients.

Design: A descriptive correlational design.

Methods: With a convenience sampling, the study sample consisted of eighty-eight adult patients who received total hip arthroplasty (THA) at orthopedics ward of four tertiary care hospitals in Bangkok, Thailand. Data were collected using the demographic characteristics questionnaire, the body mass index (BMI), the Numeric Pain Rating Scale (NPRS), the Social Support Questionnaire (SSQ), and the Lower Extremities Functional Scale (LEFS). The data were analyzed using descriptive statistics and Spearman correlation coefficient.

Main findings: BMI and SSQ were not correlated to LEFS. Post operative pain was negatively correlated to LEFS (r = - .23, p < .05). The BMI level was negative correlated to going up and down stairs (r = - .22, p < .05). There were positive correlations between the information support and going up and down stairs (r = .22, p < .05) and standing for 1 hour (r = .22, p < .05). The emotional support was positively correlated to going up and down stairs (r = .27, p < .05). The resources and assistance support was negatively correlated to getting into and out of a car (r = - .26, p < .05).

Conclusion and recommendations: The findings revealed that health care personnel can assist THA patients for early ADL during recovery phase by weight control, effective pain management and continuous social support.

 

 

ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ความเจ็บปวด และการสนับสนุนทางสังคม กับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระยะฟื้นตัว ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

วิภาพร ลีเลิศมงคลกุล, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, พัชรพล อุดมเกียรติ

 

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ความเจ็บปวด และการสนับสนุนทางสังคมกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระยะฟื้นตัวในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยาย

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 88 คน จากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 4 แห่งในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การประเมินดัชนีมวลกาย มาตรวัดความเจ็บปวดแบบตัวเลข แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการทำหน้าที่ของขา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์สเปียร์แมน

ผลการวิจัย: ดัชนีมวลกายและการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (r = - .23, p < .05) ระดับดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการขึ้น-ลงบันได (r = - .22, p < .05) การสนับสนุนด้านข้อมูลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการขึ้น-ลงบันได (r = .22, p < .05) และการยืนนาน 1 ชั่วโมง (r = .22, p < .05) การสนับสนุนด้านอารมณ์สัมพันธ์เชิงบวกกับการขึ้น-ลงบันได (r = .27, p < .05) การสนับสนุนด้านทรัพยากรและการช่วยเหลือมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเคลื่อนตัวเข้า-ออกรถยนต์ (r = - .26, p < .05)

สรุปและข้อเสนอแนะ: บุคลากรสุขภาพช่วยเหลือผู้ป่วยให้เกิดการฟื้นตัวได้ง่ายขึ้นโดยการควบคุมน้ำหนักตัว จัดการความเจ็บปวดอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมอย่างต่อเนื่อง


คำสำคัญ: กิจวัตรประจำวัน การฟื้นตัว ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมทั้งหมด

Article Details

How to Cite
Leelertmongkolkul, W., Danaidutsadeekul, S., Chanruangvanich, W., & Udomkiat, P. (2014). The Relationship between Body Mass Index, Pain, Social Support and the Activity Daily Living during Recovery Phase in Hip Arthroplasty Patients. Nursing Science Journal of Thailand, 31(2), 26–37. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/26480
Section
Research Papers
Author Biographies

Wipaporn Leelertmongkolkul, Mahidol University

Faculty of Nursing

Suporn Danaidutsadeekul, Mahidol University

Faculty of Nursing

Wallada Chanruangvanich, Mahidol University

Faculty of Nursing

Pacharapol Udomkiat, Mahidol University

Faculty of Medicine Siriraj Hospital