A Preliminary Analysis of Master’s Theses in Pediatric Nursing

Main Article Content

Tassanee Prasopkittikun
Arunrat Srichantaranit

Abstract

Purpose: An analysis of master’s theses in pediatric nursing can provide a window into the state of research in this area and gaps in research to highlight opportunities for future research as the field of pediatric nursing continues to grow. The purposes of this study were to describe the nature of the master’s theses in pediatric nursing in terms of themes of interest in this area, designs and methods employed.

Design: Documentary research.

Methods: Sixty-eight master’s theses produced by graduates from a Master’s Program in Pediatric Nursing between 2004 and 2013 were analyzed. A data extract sheet containing the study variables was developed. Data related to the nature of the theses were analyzed, using checklist procedure and categorization, and displayed with descriptive statistics.

Main findings: Research themes were mostly focused on illness (75%) and the rest on health promotion and risk reduction. Concepts and theories related to health behavior were mostly used (17.6%) as conceptual framework of the studies. About half of the theses, or 51.5%, employed quasi-experimental study designs while experimental study designs found only 4.4%. More than half of the theses (58.7%) focused mothers, caregivers, or both parents and caregivers as the study subjects whereas the children or pediatric patients were found only 26.5%. Most of the theses (77.9%) used one means of measuring the dependent variables; and self-administered questionnaires were the most popular tool used. Of the quasi-, and experimental studies, 81.6% implemented the study interventions focusing on psycho-educational programs; majority of the main outcomes were psychological-cognitive, followed by behavioral as well as signs and symptoms outcomes.

Conclusion and recommendations: Conducting an experimental study in clinical nursing context and developing innovative nursing intervention are challenging and highly recommended for future graduate research in the area of pediatric nursing. In a data collection procedure, more than one means of measurement is advisable to avoid mono-operation and mono-method biases.

 

การวิเคราะห์เบื้องต้นวิทยานิพนธ์สาขาการพยาบาลเด็ก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิเคราะห์วิทยานิพนะ์ระดับมหาบัณพิต สาขาการพยาบาลเด็กเป็นเหมือนหน้าต่างที่สามารถมองเห็นถึงสถานภาพของการวิจัยในสาขาและช่องว่างของการวิจัย ซึ่งจะเป็นโอกาสในการพัฒนางานวิจัยในอนาคตเพื่อความก้าวหน้าของการพยาบาลเด็กต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงลักษณะของวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลเด็กในด้านหัวข้อวิจัยที่สนใจศึกษา รูปแบบการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัย

รูปแบบของการวิจัย: การวิจัยเอกสาร

วิธีดำเนินการวิจัย: วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเด็ก ของคณะพยาบาลศาสตร์แห่งหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2556 มีจำนวนทั้งหมด 68 เรื่อง ได้รับการวิเคราะห์โดยใช้แบบสกัดข้อมูลที่นักวิจัยพัฒนา ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของวิทยานิพนธ์ถูกวิเคราะห์โดยใช้วิธีตรวจนับและการจัดหมวดหมู่ และนำเสนอด้วยสถิติพรรณนา

ผลการวิจัย: วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) มีหัวข้อวิจัยเรื่องเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และนอกนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยง มโนมติและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพูกนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดของการศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 17.6) ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.5 ของวิทยานิพนธ์มีรูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง ส่วนแบบทดลอง
พบเพียงร้อยละ 4.4 วิทยานิพนธ์มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 58.7) ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นมารดา ผู้ดูแล หรือทั้งบิดามารดาและผู้ดูแล ในขณะที่มีเด็กหรือผู้ป่วยเด็กเป็นกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 26.5 วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 77.9) ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวแปรตามเพียงวิธีเดียว และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยที่นิยมใช้มากที่สุด ร้อยละ 81.6 ของวิทยานิพนธ์ทั้งแบบกึ่งทดลองและแบบทดลองดำเนินกิจกรรมการทดลงอในลักษณะการให้ความรู้และการสนับสนุนด้านจิตใจ และผลลัพธ์หลักส่วนใหญ่ เป็นผลลัพธ์ด้านความรู้และจิตใจ รองลงมาคือ ผลลัพธ์ด้านพฤติกรรม และผลลัพธ์ด้านอาการและอาการแสดง ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ: รูปแบบการวิจัยแบบทดลองในบริบททางคลินิกและการพัฒนานวัตกรรมกิจกรรมการพยาบาลเป็นสิ่งที่ท้าทายและควรได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่งในการศึกษาวิจัยของ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาการพยาบาลเด็ก และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลควรส่งเสริมให้ใช้วิธีการวัดตัวแปรมากกว่าหนึ่งวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงความลำเอียง

คำสำคัญ: การพยาบาลเด็ก วิทยานิพนธ์

Article Details

How to Cite
Prasopkittikun, T., & Srichantaranit, A. (2015). A Preliminary Analysis of Master’s Theses in Pediatric Nursing. Nursing Science Journal of Thailand, 33(1), 7–17. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/41816
Section
Research Papers