Translation and Validation of the Walking Impairment Questionnaire for Peripheral Arterial Disease Patients to the Thai Version

Main Article Content

Kessiri Wongkongkam

Abstract

     Peripheral arterial disease is one of the major caused by atherosclerosis. Narrowing of tunica intima of arteries leads to limb ischemia. Intermittent claudication and rest pain are significant signs and symptoms, affecting decrease patients’ walking ability. 
Walking ability assessment is an important process for patients both before and after surgery. Treadmill test and the 6 minute-walk are the clinical walking ability tests. However, severe pain and ischemic ulcer on feet are the limitation for these walking ability tests. Thailand has no report about the tools for assessment the patients’ walking ability. Therefore, this article was written to describe the translation and validation process of the Walking Impairment Questionnaire (WIQ) from English version into Thai version by using Forward-and-backward translation method of Brislin. WIQ in Thai version has the Content Validity Index equal 1.00 and the Cronbach’s alpha coefficient was .96
 

การแปลและการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความสามารถในการเดินสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันฉบับภาษาไทย

บทคัดย่อ

     โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้ผนังชั้นในของหลอดเลือดแดงตีบแคบ ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะส่วนปลายลดลง อาการปวดขาในขณะเดินและปวดขาในขณะพัก คือ อาการสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการเดินลดลง การประเมินความสามารถในการเดินทั้งก่อนและหลังผ่าตัด จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในทางคลินิกผู้ป่วยจะได้รับการประเมินด้วยการเดินบนลู่วิ่งหรือการเดิน 6 นาที อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจมีข้อจำกัดในการเดินหรืออาจมีแผลขาดเลือดที่เท้าทำให้ไม่สามารถประเมินความสามารถในการเดินด้วยวิธีทางคลินิกทั้ง 2 ได้ ในประเทศไทยไม่พบรายงานการศึกษาที่ประเมินความสามารถในการเดินของผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมทั้งยังไม่มีรายงานการศึกษาที่กล่าวถึง การนำแบบประเมิน ใดมาใช้เพื่อประเมินความสามารถในการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ดังนั้น บทความนี้จึงได้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายถึงกระบวนการแปลและการหาค่าความตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมิน Walking Impairment Questionnaire (WIQ) จากต้นฉบับภาษาอังกฤษมาแปลเป็นภาษาไทย โดยใช้วิธีการแปลแบบไปข้างหน้า และแปลย้อนกลับแบบบริสลิน และแบบสอบถามชุดนี้มีค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .96

คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน, Walking Impairment Questionnaire

Article Details

How to Cite
Wongkongkam, K. (2015). Translation and Validation of the Walking Impairment Questionnaire for Peripheral Arterial Disease Patients to the Thai Version. Nursing Science Journal of Thailand, 33(3), 4–17. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/53194
Section
Scholarly Article