ศึกษาวิเคราะห์ความเป็นกัลยาณมิตร ในการสอบอารมณ์ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ผู้แต่ง

  • พระครูพิบูลกิจจารักษ์ . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาอดิเดช สติวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กัลยาณมิตร, สอบอารมณ์, วิปัสสนากัมมัฏฐาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

             ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ข้อดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของความเป็นกัลยาณมิตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานและสภาวธรรมของโยคีผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 3) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นกัลยาณมิตรในการสอบอารมณ์ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานโดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประชากรคือกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไป และนิสิตระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นโยคีผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานณ ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติธรรมหาจุฬาอาศรม จำนวน 500 รูป/คน
             ผลของการวิจัยพบว่า เมื่อวิเคราะห์ความเป็นกัลยาณมิตรของพระวิปัสสนาจารย์แล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่

1) ระดับตามองเห็น ประกอบไปด้วย ด้านการสร้างความน่ารัก (ปิโย) พบว่า ด้านการมีความปรารถนาดีต่อศิษย์ มีค่าเฉลี่ยทางสถิติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.41) เนื่องจากพระวิปัสสนาจารย์แสดงออกเชิงประจักษ์ถึงความหวังดีต่อลูกศิษย์ทุกคนอย่างทั่วถึง ด้านการได้รับความเคารพ (ครุ) พบว่า ด้านการมีความน่าเคารพ น่าศรัทธา น่าเลื่อมใส มีค่าเฉลี่ยทางสถิติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.34) เนื่องจากนิสิตรับรู้ได้ถึงความน่าศรัทธาที่พระวิปัสสนาจารย์แสดงออกมาในขณะที่ได้แสดงธรรมบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานและด้านการประพฤติน่าเจริญใจ (ภาวนีโย) พบว่า ด้านการปฏิบัติงานด้วยความขยันและตั้งใจ มีค่าเฉลี่ยทางสถิติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.25)เนื่องจากพระวิปัสสนาจารย์สามารถเป็นต้นแบบทางด้านการปฏิบัติธรรมให้กับนิสิตได้ดี

2) ระดับการพูดคุยสื่อสาร ประกอบไปด้วย ด้านการรู้จักพูดให้เหตุผลชี้แจง แนะนำ (วัตตา) พบว่า ด้านการพูดชี้แจงให้เข้าใจถึงเหตุและผลได้ดี มีค่าเฉลี่ยทางสถิติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.21)เนื่องจากพระวิปัสสนาจารย์ต้องอธิบายถึงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อความ

เข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้อง ด้านการแถลงเรื่องล้ำลึกได้ (คัมภีรัญจะ กถังกัตตา) พบว่า ด้านสามารถชี้แจงสภาวธรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยทางสถิติอยู่ในระดับมาก (= 4.16) เนื่องจากเป็นหน้าที่ของพระวิปัสสนาจารย์ที่ดีที่จำเป็นต้องชี้แจงสภาวธรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ เพราะพระวิปัสสนาจารย์เปรียบเสมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ทางปัญญาให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรม และด้านการไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย (โน จัฏฐาเน นิโยชเย) พบว่า ด้านสามารถชักจูงผู้ปฏิบัติให้อยู่ในวิริยะสัมโพชฌงค์ มีค่าเฉลี่ยทางสถิติอยู่ในระดับมาก (= 4.18) เนื่องจากพระวิปัสสนาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยความพากเพียรทั้งในขณะนั่งกัมมัฏฐานและเดินจงกรม ส่งผลให้นิสิตเห็นเป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อนำไปเป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรม

3) ระดับจิตใจ ได้แก่ ด้านการทนต่อถ้อยคำ (วจนักขโม) พบว่า ด้านการมีความกล้าแสดงความรับผิดชอบเมื่อกระทำผิด มีค่าเฉลี่ยทางสถิติอยู่ในระดับมาก (=4.13) เนื่องจากพระวิปัสสนาจารย์จะต้องมีการสอบอารมณ์นิสิตเป็นรายบุคคล เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในการสอบอารมณ์ขึ้นแก่นิสิต พระวิปัสสนาจารย์สามารถยอมรับและแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้นได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-11