No. 2 (2018): July - December

					View No. 2 (2018): July - December

บทบรรณาธิการ

วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 ฉบับนี้ได้ตีพิมพ์บทความทางวิชาการในรูปแบบภาษาอังกฤษและจัดแปลเป็นภาษาไทย
เรื่อง “Rethinking the Role of the Human Rights Ombudsman in the State Political System : Analysis through the Case of Uzbekistan” (การทบทวนบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินด้านสิทธิมนุษยชนในระบบการเมืองของประเทศ : บทวิเคราะห์
ผ่านกรณีศึกษาของสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน) ที่นำเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดบทบาทใหม่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในระบบการเมืองของสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน พร้อมทัศนะในการปรับบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินจากเดิมที่เน้นหลักนิติธรรมมาเป็นการใช้หลักสิทธิมนุษยชนเต็มรูปแบบแทน ผ่านกรณีศึกษาของผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ต่อมา คือบทความ เรื่อง “บทบาทหน้าที่ และกลไกขององค์การภาครัฐและภาคประชาสังคมต่อการต่อต้านและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชัน ของประเทศญี่ปุ่น” เป็นบทความวิจัยที่สะท้อนถึงบทบาท หน้าที่ กลไก และกฎหมายที่เกี่ยวข้องขององค์การต่อต้านและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชัน ของประเทศญี่ปุ่น
และ บทความเกี่ยวกับการบริหารราชการในระดับท้องถิ่น จำนวน 2 บทความ คือ เรื่อง “การบริหารจัดการอุทกภัย กรณีศึกษาเปรียบเทียบ : เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตำบลดอนฉิมพลี จังหวัดฉะเชิงเทรา” เป็นการศึกษา
กระบวนการจัดการอุทกภัยผ่านบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางนโยบายและผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย
พร้อมกับการศึกษาถึงความแตกต่างและปัจจัยที่ส่งผลให้การบริหารจัดการภัยพิบัติจากอุทกภัยในพื้นที่การศึกษาประสบผลสำเร็จ
ส่วนบทความวิจัยอีกเรื่องเป็นการศึกษาแบบผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เรื่อง “รูปแบบภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การ
ที่ส่งอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การบริหารส่วนจังหวัด : กรณีศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา” เป็นการศึกษาถึงระดับภาวะผู้นำของผู้บริหาร
ระดับของวัฒนธรรมองค์การ ระดับประสิทธิผลองค์การ เส้นทางอิทธิพลของการพัฒนาขีดความสามารถ และการพัฒนาโมเดลการพัฒนา
ขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา

บทความวิจัยและบทความวิชาการข้างต้นได้ผ่านการอ่านประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่ง
ว่า วารสารผู้ตรวจการแผ่นดินฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดินและการบริหารจัดการภาครัฐได้พอสมควร

ทั้งนี้ วารสารผู้ตรวจการแผ่นดินได้ดำเนินการผ่านระบบการจัดการวารสารแบบออนไลน์ หรือ ระบบ Online Journal System (OJS) จึงขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนผู้สนใจทุกท่านส่งบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ หรือบทวิจารณ์หนังสือ ได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/ombudsman ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ombudsman.go.th/ombudsmanstudies (หัวข้อ “วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน”)

Published: 09.07.2019