การพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา

ผู้แต่ง

  • PhrakhrupaladNatthaphon natt Prachunha 0639165956

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, แอปพลิเคชัน, สุขภาพจิต, ไตรสิกขา, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ นำเสนอผลงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเตรียมรับมือกับ ปัญหาด้านสุขภาพจิตที่จะเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษา ปัญหา ความต้องการระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนานวัตกรรมส่งเสริม สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ และเพื่อประเมินโดยนำเสนอนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา

รูปแบบกระบวนการวิจัย ได้แก่ การสำรวจปัญหา ความต้องการ ผู้สูงอายุจากงานเอกสารประกอบกับการดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ ประยุกต์ใช้เครื่องมือทาง ทฤษฏีวิศวกรรมความรู้ในการสังเคราะห์ความต้องการผู้ของใช้งาน การออกแบบ การพัฒนาระบบ กำหนดเครื่องมือเทคโนโลยีที่ต้องใช้ในการพัฒนา การทดลอง ใช้งานโมบายแอปพลิเคชัน แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ความต้องการระบบ จำนวน 19 คน กลุ่มตัวอย่างทดสอบนวัตกรรม จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ตอบแบบสอบถามแบบประเมิน เก็บข้อมูลความต้องการแบบมีส่วนร่วม ใช้เครื่องมือการวิจัยชุดคำถาม แบบ สอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปของกรมสุขภาพจิต

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพกายใจ ต้องการประคับประคองและพัฒนาด้านกายใจ และทราบถึงปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุใน อำเภอเมืองเชียงใหม่ การพัฒนานวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี ได้โมบายแอปพลิเคชัน “วัดในบ้าน” นำนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีได้ทดลองปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา คือ การยกวัดเข้าสู่บ้าน ด้วยการพัฒนากายวาจา ใจ ให้เกิดความเรียบร้อย มีการสำรวมระวังมิให้บาปอกุศลเข้าครอบงำจิตใจ ให้ผู้สูงอายุมีความฉลาดรอบรู้อันเป็นปัญญาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิต และได้นำเสนอ ผลการประเมินนวัตกรรม ข้อเสนอแนะเพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดกับ เครือข่ายวัด ชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ โดยการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา

References

Books:

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Tipitaka Mahachulalongkornrajavidyalaya University Edition. Published for 5th Anniversary of Her Majesty Queen Sirikit’s Birthday. Phra Nakhon Sri Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.

National Statistical Office of Thailand. (2014). Rāingānkānsamrūatphūsūngʻāyunaiprathedthai 2557. Bangkok: Text and Journal Publication.

Mallenius, S., Rossi, M., & Tuunainen, V.K. (2007). Factors affecting the adoption and use of mobile devices and services by elderly people—results from a pilot study. In Proceeding of 6th Annual Global Mobility Roundtable, Los Angeles

Payutto, B. P. A. (2003). The Pali Canon: What a Buddhist Must Know. NakornPathom: WatNyanavesakavan.

Journal:

Phrarāchēn Wisānthō. (2017). Sưksārūpbǣpkāndamnœ̄nngānkhapkhlư̄ankhrōngkān Mūbānraksāsīn Hā khō̜ngkhanasongčhangwatnō̜ngkhāi. Mahachula Academic Journal. 4 (2): 87.

Ekman, P., Davidson, R.J., Richard, M., & Wallace, B.A. (2005). Buddhist and Psychological Perspectives on Emotions and Well-being. American Psychologica Society. 14(2):59-63.

Gethin, R. (1998). The foundations of Buddhism. Oxford [England]: Oxford University Press.

Joe, J., and Demiris, G. (2013). Older adults and mobile phones for health: A review. Journal of Biomedical Informatics. 46(5):947-954.

Website:

Department of Mental Health. (2007). Bǣpthotsō̜pdānsukphāpčhit. Retrieved Mar 13 2019, from website: https://www.dmh.go.th/test.

Australian Communication and Media Authority. (2014). Communications report 2013-2014. Retrieved Mar 13 2019, from website: https://www.acma.gov.au/.

Australian Communication and Media Authority. (2016). Communications report 2015-2016. Retrieved Mar 13 2019, from website: https://www.acma.gov.au/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2019