วารสารปณิธาน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana <div id="journalDescription"> <p style="text-align: left;">วารสารปณิธาน ก่อตั้งขึ้นโดยภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนทักษะทางวิชาการ มีขอบเขตการตีพิมพ์เนื้อหาเน้นบทความด้านปรัชญา (Philosophy) และศาสนา (Religion) เป็นหลัก และด้านวรรณกรรม (Literature) วัฒนธรรม (Culture) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ที่สัมพันธ์กับปรัชญาและศาสนา ในรูปแบบผลงาน 4 ประเภท คือ (1) บทความวิจัย (research article) (2) บทความวิชาการ (academic article) (3) บทความปริทัศน์ (review article) (4) บทวิจารณ์หนังสือ (book review) รับบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ตีพิมพ์ทั้งสอง 2 ภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้กระบวนการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่านเป็นผู้ประเมินบทความ ซึ่งผู้ประเมินบทความและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind peer review) กำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ทุกๆ 6 เดือน ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)</p> </div> <p>ISSN 2985-2919 (Online)</p> <div id="additionalHomeContent"> </div> th-TH <p>เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต</p> <p>ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ [email protected]</p> [email protected] (ผศ.ดร.ปิยะมาศ ใจไฝ่) [email protected] (นางสาวณัฐกานต์ สนิทอินทร์) Tue, 26 Dec 2023 16:40:04 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การ ศึกษาศาสนสถานจีนในจังหวัดเชียงใหม่: กรณีศึกษามูลนิธิกวนอิมธรรมทาน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/265529 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ พิธีกรรมของมูลนิธิกวนอิมธรรมทาน และความเชื่อของสาธุชนที่มีต่อมูลนิธิกวนอิมธรรมทาน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลภาคสนามเพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ศึกษาการประกอบพิธีกรรมของมูลนิธิฯ และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการมูลนิธิฯ ตลอดจนสาธุชนที่เข้ามาสักการะ โดยวิเคราะห์ความเชื่อตามทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของ Malinowski ผลการวิจัยพบว่าในอดีตมูลนิธิฯ เคยเป็นศาสนสถานรูปแบบพระอารามจีนก่อนจะเปลี่ยนมาดำเนินการบริหารในรูปแบบมูลนิธิ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหาร แต่ก็ยังมีการประกอบพิธีกรรม เช่น พิธีสวดมนต์ในวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำ การเปิดโรงทานให้สาธุชนทุกคนร่วมกันรับประทานอาหารเจ สาธุชนยังคงเห็นถึงความสำคัญของมูลนิธิฯ ในการเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจและยังคงศรัทธาต่อมูลนิธิฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามูลนิธิฯ ได้ทำหน้าที่ของวัฒนธรรมในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในการจัดการกับความรู้สึกทางจิตใจ ทำให้รู้สึกปลอดภัย และยังเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของสมาชิกในสังคม</p> จิรัชญาณ์ เตชะวีรภัทร, KORAWAN PHROMYAEM, วศิน ศาตพรวรชิต Copyright (c) 2023 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/265529 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 คนข้ามเพศและเส้นทางสู่ความหลุดพ้นในบริบทสังคมพุทธเถรวาทไทยปัจจุบัน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/268886 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงชาติพันธุ์ (ethnographic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นอื่น (othering) สถานธรรมะที่สาม (third way monasticism) ผ่านประสบการณ์และแนวปฏิบัติทางศาสนาของผู้นำศาสนาที่เป็นสาวประเภทสองในพุทธศาสนาเถรวาทไทยในยุคปัจจุบัน โดยใช้กรอบทฤษฎีว่าด้วยความเป็นอื่นและพื้นที่ที่สามของ Homi Bhabha และ Edward Soja ที่เสนอว่าพื้นที่ที่สามเป็นพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับความเป็นอื่น เป็นพื้นที่ที่ท้าทายวิถีที่มีอยู่เดิม พื้นที่สามนี้มีพรมแดนที่เปิด ทำให้เกิดการผสม ปรับปรนทางวัฒนธรรม ก่อเกิดวัฒนธรรมใหม่ ที่ Bhabha เรียกว่า วัฒนธรรมลูกผสม (Cultural Hybridity) กลุ่มตัวอย่างหลักในงานวิจัยนี้คือสาวประเภทสองที่ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นนักบวช (renouncer) หรือผู้นำทางจิตวิญญาณ (spiritual leader) ทั้งนี้นักวิชาการด้านศาสนาและเพศภาวะได้เสนอว่าพื้นที่ทางศาสนาอย่างเช่นพุทธศาสนาเถรวาท ถูกออกแบบมาเพื่อผู้ชายและได้เบียดขับผู้หญิงและคนข้ามเพศออกจากพื้นที่ศาสนาหรือให้อยู่ในฐานะที่เป็นรองหรือเป็นอื่น ดังนั้น บทความวิจัยนี้เสนอว่า ความเป็นอื่นเป็นสิ่งที่ผลักดันให้บุคคลข้ามเพศสร้างแนวปฏิบัติทางศาสนารวมถึงสถานธรรมที่เหมาะสมกับเพศภาวะตนเอง ที่เรียกว่าสถานธรรมะที่สาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดพรมแดน รับและปรับปรนเอาหลากหลายแนวคิดและแนวปฏิบัติทางศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน เป็นเหตุให้เกิด “ธรรมะลูกผสม (Dhamma Hybridity)”</p> อำนวยพร กิจพรมมา, ระพี แสงสาคร Copyright (c) 2023 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/268886 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวคิดเรื่องอจินไตยในพระพุทธศาสนาเถรวาท: ความหมายและความเข้าใจ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/265256 <p>คำว่า อจินฺเตยฺย (อจินไตย) ในการรับรู้ของชาวพุทธแปลว่า สิ่งไม่ควรคิด เชื่อมโยงไปสู่อจินฺเตยยสูตรในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ซึ่งพจนานุกรมพระพุทธศาสนาในประเทศไทยต่างเห็นพ้องกันด้วยเหตุผลจากไวยากรณ์ของภาษาบาลีว่าต้องแปลเป็น “ไม่ควรคิด” หรือ “ไม่พึงคิด” แต่ความหมายจากการแปลเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน เมื่อนำไปใช้กับบริบทในพระสูตรอื่นที่แปลด้วยวิธีการทับศัพท์กลับไม่สอดคล้องกับบริบท ในบทความฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเชิงเอกสารผ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏการใช้งานคำว่า อจินไตยในที่ต่าง ๆ แล้วนำมาศึกษา ตีความตามแนวคิด 1) การตีความตัวบทผ่านระบบภาษาของคัมภีร์ 2) การเชื่อมโยงข้อความในตัวบทอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน และ 3) การตีความตามเจตนารมณ์ของผู้บันทึกหรือผู้สอน แล้วจึงวิเคราะห์เพื่อให้เห็นนัยยะต่าง ๆ ของคำว่า อจินไตย จากความหมายเดิม และให้ความเห็นเป็นความหมายเพิ่มเติมจากบริบท</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ระบบภาษาของคำว่า อจินฺเตยฺย จากไวยากรณ์บาลีทุกสายถูกบังคับให้แปลว่า “ไม่ควรคิด” หรือ “ไม่พึงคิด” ส่วนการตีความด้วยการเชื่อมโยงข้อความจากตัวบทอื่น และการตีความตามเจตนารมณ์ของผู้สอน ทำให้พบความหมายใหม่จาก 3 นัยยะ คือ 1) นัยยะของการห้าม ด้วยคำว่า “ไม่ควรคิด” โดยห้ามในสิ่งที่ไม่สามารถใช้วิสัยแห่งปฏิปทาที่ต่ำไปคิดหรือรู้ในเรื่องที่วิสัยแห่งปฏิปทาที่สูงกว่ารู้ได้ 2) นัยยะของการเปรียบเทียบคุณค่า ด้วยคำว่า “มีคุณค่ามากจนไม่สามารถคิดได้” จากประสบการณ์ในอดีตกับประสบการณ์ใหม่ที่พึ่งได้รับรู้แล้วเปรียบเทียบคุณค่า และ 3) นัยยะของวัตถุที่มีคุณค่ามากในตัว ด้วยคำว่า “ไม่สามารถอธิบายได้” “มีอานุภาพมากจนไม่สามารถคิดได้” โดยส่วนใหญ่เป็นนามธรรมที่มีคุณค่ามากในตัวเองและมีอานุภาพจนไม่สามารถอธิบายได้ว่า มีอานุภาพมากเท่าใด เช่น การอธิบายอานุภาพธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานว่า มีอานุภาพเท่าใด ดังนั้น ความหมายเพิ่มเติมของคำว่า อจินฺเตยฺย คือ “ไม่สามารถคิดได้” จึงเป็นอีกความหมายที่ควรนำมาใช้ประกอบการศึกษาและอธิบายพระสูตรที่มีการใช้คำว่า อจินไตย แทนการทับศัพท์เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจบริบทที่ปรากฏพร้อมกับคำว่า อจินไตย ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น</p> พงษ์ศิริ ยอดสา Copyright (c) 2023 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/265256 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 ข้อวิจารณ์ของยูริโกะ ไซโตะว่าด้วยทรรศนะเกี่ยวกับความงามของคานท์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/267243 <p>ระหว่างศตวรรษที่ 19 การถกเถียงเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ได้แสดงให้เห็นความโน้มเอียงต่อขอบเขตของศิลปะอย่างชัดเจน โดยลดทอนการถกเถียงเกี่ยวกับทฤษฎีทัศนคติเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ แนวคิดสุนทรียศาสตร์ทุก ๆ วันชีวิตประจำวันเป็นวิถีที่มุ่งเป้าที่การขยายขอบเขตในการถกเถียงเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์โดยครอบคลุมวัตถุและกิจกรรมที่หลากหลายภายในชีวิตประจำวัน ยูริโกะ ไซโตะ นักปรัชญาคนสำคัญแห่งช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญต่อการพัฒนาของสาขาสุนทรียศาสตร์ทุก ๆ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิเสธแนวคิดเรื่องความงามของอิมมานูเอล คานท์ บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการ (1) นำเสนอข้อวิจารณ์ของไซโตะเกี่ยวกับทัศนะเกี่ยวกับความงามของคานท์ และ (2) เปรียบเทียบทัศนะเกี่ยวกับความงามของคานท์กับข้อถกเถียว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ของไซโตะ โดยความงามนั้นมีความโดดเด่นในแนวคิดสุนทรียศาสตร์ของคานท์ซึ่งไซโตะไม่ได้ให้ความสำคัญเท่า ทางผู้วิจัยตั้งสมมุติฐานว่านอกจากความแตกต่างระหว่างแนวคิดแล้วยังรวมถึงหลักการพัฒนาแนวคิดด้วย ซึ่งทางผู้วิจัยได้อภิปรายเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ระหว่างคานท์และไซโตะในบทความนี้ด้วย</p> อธิป ดวงทิพย์ Copyright (c) 2023 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/267243 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทวิจารณ์หนังสือ มิติเชิงสังคมของความรู้: ญาณวิทยาเชิงสังคม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/265643 อธิป ดวงทิพย์ Copyright (c) 2023 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/265643 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 ต้นไม้ประจำคนตาย : การอนุรักษ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/266417 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอการอนุรักษ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกต้นไม้ประจำคนตาย โดยสังเคราะห์จากแนวคิดกฎธรรมชาติในพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกต้นไม้ประจำคนตายมีองค์ประกอบสำคัญสามประการ คือ 1) หลักการ คือ ชีวิตเกิดจากธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และสุดท้ายต้องกลับคืนสู่ธรรมชาติ การดำรงชีวิตควรดำเนินไปด้วยความไม่ประมาท และหลังจากเสียชีวิตแล้ว ร่างกายหลังความตายควรจะมีประโยชน์ต่อโลกให้มากที่สุด 2) คุณค่าของต้นไม้ประจำคนตายมีสามประการ คือ เป็นสื่อการเรียนรู้ให้ผู้ยังมีชีวิตอยู่ได้เรียนรู้กฎธรรมชาติ, เป็นเครื่องอนุสรณ์ถึงผู้ตายและถือว่าเป็นตัวแทนของผู้ตาย, และ เป็นการปลูกป่าเพิ่มขึ้นและเป็นการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน และ 3) วิธีการ: ใช้พวงหรีดเป็นพวงหรีดต้นไม้ แล้วนำไปปลูกในพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะโดยนำเถ้ากระดูกของคนตายไปผสมกับดินในหลุมปลูกต้นไม้ วิธีการนี้เป็นการคืนร่างกายมนุษย์กลับคืนสู่ธรรมชาติคือดินและเป็นการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ตายในรูปแบบใหม่ ที่ปรากฏผลเชิงประจักษ์ในแง่ของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน</p> รัตนะ ปัญญาภา Copyright (c) 2023 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/266417 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ PNT19(2) 1-8 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/269849 Copyright (c) 2023 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/269849 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 หลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ใน “วารสารปณิธาน” 19(2) 108-116 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/269850 Copyright (c) 2023 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/269850 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700