การปรับตัวของสามเณรชาวเขา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนปริยัติธรรมแม่แตงวิทยา

ผู้แต่ง

  • พระกิตติกานต์ อินตา โรงเรียนปริยัติธรรมแม่แตง

คำสำคัญ:

การปรับตัว, สามเณรชาวเขา, โรงเรียนพระปริยัติธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ผู้วิจัยตั้งวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ 3 ประการ คือเพื่อศึกษาการปรับตัวของสามเณรชาวเขาโรงเรียนปริยัติธรรมแม่แตงวิทยา วัดหนองโค้ง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อวิเคราะห์การปรับตัวของสามเณรชาวเขาโรงเรียนปริยัติธรรมแม่แตงวิทยา วัดหนองโค้ง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่พบของการอยู่ร่วมกันของสามเณรไปแก้ไขและประยุกต์ใช้ต่อไป โรงเรียนปริยัติธรรมแม่แตงวิทยา วัดหนองโค้ง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีนโยบายเปิดรับสามเณรชาวเขาเผ่าต่างๆ เข้าเรียนและพักอาศัยอยู่ในโรงเรียนและวัด โดยมีผู้อำนวยการ คณาจารย์ พระพี่เลี้ยง สามเณรรุ่นพี่ ผู้เกี่ยวข้องในวัดและโรงเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา อบรมให้ความรู้ ทั้งวิชาการ การ อ่าน พูด เขียน เพื่อช่วยส่งเสริมการปรับตัวอยู่ร่วมกันของนักเรียนสามเณรชาวเขารุ่นใหม่ที่เข้ามาทุกปี วิเคราะห์การปรับตัวการอยู่ร่วมกันของสามเณรชาวเขา ปัญหาและอุปสรรคของการปรับตัวในการอยู่ร่วมกันในโรงเรียนปริยัติธรรมแม่แตงวิทยา วัดหนองโค้ง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีสาเหตุมาจากสามเณรชาวเขามีความแตกต่างทางด้านภาษาพูด สังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกันของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นสามเณรชาวเขาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และยอมรับในความแตกต่างและความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม โรงเรียน วัดและครูอาจารย์มุ่งเน้นการให้ความรู้เรื่องการปรับตัวทั้งด้านภาษาในการสื่อสารด้วยการปลูกฝังให้นักเรียนสามเณรชาวเขาพูดจาภาษาไทยกลางได้ชัดเจน สุภาพ ไพเราะ ไม่หยาบคาย เคารพซึ่งกันและกัน ไม่แสดงกิริยาและวาจาดูหมิ่นผู้อื่น การอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบวินัย โดยสามเณรชาวเขาทุกคนมีน.ที่ที่ต้องปฏิบัติต่อโรงเรียนและวัด เพราะเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้และที่อยู่อาศัย มอบหมายการทำกิจวัตรประจำวันที่พร้อมเพรียงกันในวัดและโรงเรียน เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมและเพื่อสร้างความสามัคคีความมีระเบียบวินัยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกัน

References

กันยา สุวรรณแสง. (2536). มนุษย์สัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นการกระทำใดที่เป็นแก่ตนเองแล้วก็ต้องไปตามแนวคิดของสังคม. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2562, จาก https://www.thesis.rru.ac.th/files/pdf/1185937620

มาล์ม และเจมิสัน (Malm & Jamison). การปรับตัว. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/.../bth-thi-3.../3-1-khwam-hmay-khxng-kar-prab-taw

โรเจอร์ส (จุมจินต์ สลัดทุกข์. 2543). ผู้นำทฤษฎีว่าด้วยตน และทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบผู้รับคำปรึกษาเป็นศูนย์กลาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562, จาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=psychologist&month=17-11

ลักขณา สริวัฒน์ (2544). ความหมายของการปรับตัว. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/educationalpsychology2555/bth-thi-3-khwam-taek-tang-taela-bukhkhl/3-1-khwam-hmay-khxng-kar-prab-taw

หัทยา สารสิทธิ์ (2541). ความหมายวินัย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์). สืบค้นจาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle /2553/2268

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24