สุนทรียภาพทางภาษาในบทเพลงไทยลูกทุ่งของ เต้ย อธิบดินทร์

ผู้แต่ง

  • ประมาภรณ์ ศิริภูมี มรภชัยภูมิ

คำสำคัญ:

สุนทรียภาพทางภาษา, เพลงไทยลูกทุ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาในการสื่ออารมณ์และภาพพจน์ที่ปรากฏในบทเพลงลูกทุ่งของเต้ย อธิบดินทร์ ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2559 จำนวน 9 บทเพลง คณะผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวกับสุนทรียภาพทางภาษาที่ปรากฏในบทเพลงลูกทุ่งของเต้ย อธิบดินทร์ อ่านวิเคราะห์ สรุป อภิปรายผลการวิจัยแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

การใช้ภาษาในการสื่ออารมณ์ และภาพพจน์ที่ปรากฏในบทเพลงลูกทุ่งของเต้ย อธิบดินทร์ ปรากฏว่า 1) การใช้ภาษาในการสื่ออารมณ์ มี 6 ประเภท ได้แก่ ภาษาแสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ, ภาษาแสดงอารมณ์เสียดสี ตำหนิติเตียน, ภาษาแสดงอารมณ์ปลุกปลอบให้กำลังใจ, ภาษาแสดงอารมณ์สงสาร เห็นใจ, ภาษาแสดงอารมณ์โศกเศร้า เสียใจ น้อยใจ, ภาษาแสดงอารมณ์เสียดาย อาลัยอาวรณ์ 2) การใช้ภาพพจน์ มี 6 ประเภท ได้แก่ อุปมา, อุปลักษณ์, บุคลาธิษฐาน, ปฏิทรรศน์, นามนัย, และอติพจน์

จากผลการวิจัยสุนทรียภาพทางภาษาในบทเพลงไทยลูกทุ่งของ เต้ย อธิบดินทร์ พบว่า มีการใช้ภาพพจน์ในคำร้องของบทเพลง มีการใช้คำให้เหมาะสมกับเนื้อหา มีศิลปะ ในการเลือกใช้ ทำให้ไพเราะ สละสลวย อาจจะด้วยวิธีการ การเล่นคำ ซ้ำคำ หลากคำ และใช้คำซ้ำ ผสานกับการใช้ภาษาเพื่อให้สื่ออารมณ์ไปยังผู้ฟัง การใช้ภาพพจน์เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งทางภาษาที่มุ่งให้ผู้รับสารมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งการใช้ภาพพจน์ซึ่งในเนื้อร้องของบทเพลงที่ว่าเป็นกลวิธีการเรียบเรียงถ้อยคำลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้ประพันธ์ตั้งใจใช้เพื่อให้เกิดผลทางจินตภาพหรือทำให้เกิดความซาบซึ้งประทับใจได้มากกว่าการเขียนอย่างธรรมดา

References

เกศราพร พรหมนิมิตกุล. (2555). ความงามของภาษาในเพลงลูกทุ่ง : กรณีศึกษาเพลงฮิตติดชาร์ตลูกทุ่งมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 9(2), 83-100.

จรัญญา ดีบุญมี ณ ชุมแพ (2545). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เต้ย อธิบดินทร์. (2557). ของฮ้าง. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก https://www.youtube.com/ watch?v=FD5RQx4HJ-k.

______. (2557). บ่เป็นหยังอ้ายยังบ่ตาย. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2559, จาก https://mechords. blogspot.com/2016/11/bor-pen-yong-aye-yong-bor-taiy.html

______. (2557). ผู้สาวบึงกาฬ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก https://mechords. blogspot.com/2015/05/Phoo-Sao-Bung-Kan.html

______. (2558). เขาข้างกายอ้ายข้างใจ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก https://mechords. blogspot.com/2016/06/toey-kao-kang-kai-aye-kang-jai.html

______. (2558). สถานะแฟนเก่า. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2559, จาก https://mechords. blogspot.com/2016/05/sa-ta-na-fan-gao.html?m=1ม

______. (2559). ขุนช้างฮ้างฮัก. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก https://mechords. blogspot.com/2016/11/koon-chang-hang-hug.html?m=1

______. (2559). สเตตัสถืกถิ่ม. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.facebook.com/ lyricsmoment/posts/1328824157211182

______. (2559). เลิกกันสา. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.youtube.com/ watch?v=gopOTZmwds8

______. (2559). ไม้อ่อยไฟ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก https://www.facebook.com/ watch/?v=1106609929432400,

พิทยา ลิ้มมณี. (2537). การอ่านตีความ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต.

สุนทรี ดวงทิพย์. (2558). การศึกษาวิเคราะห์วรรณศิลป์ในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของหนูมิเตอร์. สักทอง:วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 21(2), 67-81.

สุณิสา จรัสวิศรุต. (2557). ปัจจัยแห่งความสําเร็จของการจัดการท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 12(2), 121-132.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ที่มาของเพลงลูกทุ่ง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=33& chap=2&page=t33-2-infodetail01.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24