การใช้โวหารภาพพจน์ในวรรณคดี เรื่อง “อิเหนา” บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2

ผู้แต่ง

  • อัญชนา พิลาดี มรภ ชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โวหารภาพพจน์, วรรณคดี, อิเหนา, พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การใช้โวหารภาพพจน์ในวรรณกรรมเอกเรื่อง อิเหนา”         บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์         การใช้โวหารภาพพจน์ในวรรณกรรมเอกเรื่อง “อิเหนา” ผู้วิจัยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโวหารภาพพจน์ ผลการวิจัยพบว่า

          การศึกษาวิเคราะห์การใช้โวหารภาพพจน์ วรรณกรรมเอกเรื่อง “อิเหนา” บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้นพบโวหารภาพพจน์ ครบทั้ง 4 ประเภท โดยโวหารภาพพจน์ที่พบมากที่สุดคือ อุปมา รองลงมาเป็น สัทพจน์  อติพจน์ และอุปลักษณ์ ตามลำดับ

คุณค่าด้านกลวิธีการแต่ง ด้านจินตภาพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงใช้ คำบรรยายได้ชัดเจน สามารถทำให้ผู้อ่านสามารถคิดภาพตามและได้รับอรรถรสในการอ่านมากขึ้น    การเล่นคำ โดยการซ้ำคำ มีการใช้ภาษาสละสลวยงดงาม การเล่นคำพ้องเสียง เล่นสัมผัสการใช้โวหารภาพพจน์เปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนสิ่งหนึ่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การเปรียบเทียบการเกินจริง เพื่อเน้นความรู้สึกให้ผู้อ่านเห็นภาพและเกิดความลึกซึ้งในเนื้อหาที่อ่าน นอกจากนี้ยังดัดแปลงสอดแทรกธรรมเนียมและรสนิยมของคนไทยได้โดยไม่ขัดกับเรื่องเดิม แสดงให้เห็นถึงสภาพการศึกสงครามเมื่อครั้งอดีต  วรรณกรรมอิเหนาจึงเป็นวรรณคดีที่มีความ โดดเด่นและควรค่าแก่การอ่านเป็นอย่างยิ่ง

References

กิตติยา รัศมีแจ่ม. (2561). วรรณคดีไทยในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2552). พระราชนิพนธ์อิเหนาในรัชกาลที่ 2 : การสร้างนิทานปันหยีให้เป็นยอดบทละครใน. (ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (2555). บทละครเรื่องอิเหนา. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.

สุจิตรา จงสถิตวัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต. (2561). วรรณกรรม. สืบค้นข้อมูลวันที่ 12 มกราคม 2561จาก http://www.finearts.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24