การใช้คำภาษาต่างประเทศและคำภาษาถิ่นในรวมบทกวีนิพนธ์ “วิมานลงแดง” ของ “อังคาร จันทาทิพย์”

ผู้แต่ง

  • อัษฎาวุธ โสรส

คำสำคัญ:

คำภาษาต่างประเทศ, คำภาษาถิ่น, วิมานลงแดง, อังคาร จันทาทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยการใช้คำภาษาต่างประเทศและคำภาษาถิ่นในรวมบทกวีนิพนธ์ “วิมานลงแดง” ของ “อังคาร จันทาทิพย์” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคำภาษาต่างประเทศและคำภาษาถิ่นที่ปรากฏ ในรวมบทกวีนิพนธ์ “วิมานลงแดง” ของ “อังคาร จันทาทิพย์” โดยศึกษาวิเคราะห์จากรวมบทกวี นิพนธ์ จำนวน 50 บทกวี ด้านการจำแนกคำภาษาต่างประเทศจำแนกตามเกณฑ์ ของสุวิไล เปรมศรีรัตน์ ด้านการจำแนกคำภาษาถิ่นจำแนกตามเกณฑ์ของสถาบันภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า

ด้านการจำแนกภาษาต่างประเทศที่ปรากฏในบทกวีนิพนธ์จำแนกตามตระกูลภาษา ที่พบมากที่สุด คือ ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนพบจำนวน 415 คำ ดังนี้ 1) บาลี-สันสกฤต พบจำนวน 276 คำ2) บาลีพบจำนวน 68 คำ 3) สันสกฤต พบจำนวน 57 คำ 4) อังกฤษ พบจำนวน 10 คำ 5) เปอร์เซีย พบจำนวน 4 คำ รองลงมาคือตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก พบจำนวน 101 คำ ดังนี้ 1) เขมร พบจำนวน 95 คำ2) เขมร-มอญ พบจำนวน 4 คำ 3) มลายูพบจำนวน 1 คำ 4) มอญพบจำนวน 1 คำ ตระกูลภาษาจีน – ทิเบต พบจำนวน 15 คำ ดังนี้ 1) จีน พบจำนวน 14 คำ 2) พม่าพบจำนวน 1 คำ ตระกูลภาษาไท-กะได พบคำภาษาลาว จำนวน 14 คำ ตระกูลภาษาเซมิติก พบคำภาษาอาหรับ จำนวน 3 คำ ตระกูลภาษาดราวิเดียน พบคำภาษาทมิฬ จำนวน 2 คำ ที่พบน้อยที่สุดคือตระกูลภาษาอัลไต พบคำภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 คำ ด้านการจำแนกภาษาถิ่นที่ปรากฏรวมบทกวีนิพนธ์ “วิมานลงแดง” พบคำภาษาถิ่นจำนวน 4 คำ จำแนกเป็นคำในภาษาถิ่นเหนือจำนวน 2 คำ และคำในภาษาถิ่นอีสานจำนวน 2 คำ จากการใช้คำภาษาต่างประเทศและคำภาษาถิ่นที่ปรากฏในรวมบทกวี “วิมานลงแดง” ของ “อังคาร จันทาทิพย์” มีการใช้ภาษาที่หลากหลายทั้งด้านภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น จึงทำให้มีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น และบทกวีนี้ยังคงมีความงดงามของฉันทลักษณ์ของภาษาตามกวีนิพนธ์ไทย

References

ณัฐ ภมรประวัติ. (2534). สรุปการสัมมนาทางวิชาการเรื่องการใชภาษาไทยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 2 และพิพิธภัณฑเพื่อการศึกษาครั้งที่ 1. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีระ รุ่งธีระ. (2555). ประเด็นศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยด้านวรรณกรรมไทยร่วมสมัยระหว่าง พ.ศ. 2533-2552 : การสำรวจภาพรวม. วารสารมนุษยศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นัทภณิตา วารีปาน. (2558). วัจนลีลาในกวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์:หนังสือเรื่องไม่มีหญิงสาวในบทกวี ของ ซาการีย์ยา อมตยา. สุพรรรบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นูรีดา เจ๊ะสามอเจ๊ะ และคณะ (2561). การทับศัพท์ภาษาอังกฤษในวรรณกรรมสำหรับเยาวชนรางวัลซีไรต์. รายงานสืบเนื่องการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 The 9 the Hatyai National and International Conference. น.953-961.

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. (2539). แว่นวรรณกรรม. พิมพ์ครั้งที่2. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระยาอุปกิตศิลปสาร. (2548). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: แม่โพสพ.

พิชญา สุวรรณโน. (2557). ความสามารถด้านการใช้ภาษาในการเขียนกวีนิพนธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. รายงานสืบเนื่องการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. น.639-648.

วิไลศักดิ์ กิ่งคํา. (2550). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันภาษาไทย. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 4 : วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สกสค.

สุภัทร แก้วพัตร. (2560). ภาษากับสังคม. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2549). สถานการณ์ทางภาษาในสังคมกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย : ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อังคาร จันทาทิพย์. (2544). วิมานลงแดง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-08