การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้นิทานคุณธรรม

ผู้แต่ง

  • พัชรา ทองนะคะ

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ, การอ่านจับใจความสำคัญ, นิทานคุณธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้นิทานคุณธรรม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองช้างเอก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองช้างเอก จำนวน 6 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบแบบ t- test แบบ dependent เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อน และหลังเรียนของกลุ่มทดลอง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้นิทานคุณธรรม พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ประภากรณ์ พาป้อ. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนเกรด 4 โรงเรียนนาชาติ ไทย-จีน จังหวัดสมุทรปราการระหว่างกลุ่มที่สอนโดยใช้นิทานพื้นบ้านไทยกับ
กลุ่มที่สอนโดยใช้นิทานพื้นบ้านนานาชาติเป็นสื่อ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

พระมหาวรัฏฐนน กมโล (แสงศรี). (2560). การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานชาดกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดท่าตอน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

พัฒจิรา จันทร์ดำ.(2554). การอ่านและการวิจารณ์เรื่องสั้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์.

โรงเรียนบ้านหนองช้างเอก. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ชัยภูมิ: โรงเรียนบ้านหนองช้างเอก.

วิเชียร เกษประทุม. (2550). นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สุนันทา กินรีวงศ์. (2560). การอ่าน. มหาสารคาม: โรงพิมพ์ชัยมงคลปริ้นติ้ง.

อุทัยวรรณ ธีระแนว. (2559). การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานคุณธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-08