การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • พระอธิการทวีศักดิ์ กิตฺติญาโณ (วรกิจเจริญ)

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลง, วิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวนทั้งสิ้น 25 ราย คัดเลือกผู้ที่อาศัยในพื้นที่เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกิดจากสภาพวิถีชีวิตของชุมชนในอดีตและปัจจุบัน ประกอบด้วยด้านครอบครัว ด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ด้านศาสนาและวัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยี และมีสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในชุมชน ประกอบด้วยสาเหตุภายใน ได้แก่ สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ความต้องการทางด้านวัตถุ การยอมรับประเพณีและวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามาในชุมชน สาเหตุจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เมื่อรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงแปลงไปด้วย และสาเหตุจากความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ส่วนสาเหตุภายนอก ได้แก่ เกิดจากสาเหตุด้านการพัฒนาของภาครัฐ และสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

References

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรรินทร์พริ้นแอนพับลิซซิ่ง.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2526). การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระอินจันทร์ กนฺตจารี. (2549). วิถีชีวิตการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมของชุมชนชาวยอง ชุมชนบ้านดอนปีน ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่, Zวิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย).

วราคม ทีสุกะ. (2544). สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

วราภรณ์ กันทะ. (2551). ศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง บ้านตุงลอย หมู่ 4 ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. (สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2555). นโยบายสาธารณะไทย กำเนิดพัฒนาการและสถานภาพของศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุดทอง.

สุพิศวง ธรรมพันธา. (2538). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: ดีดีบุ๊คสโตร์.

Maxwell, J. A.. (1992). Understanding and validity in qualitative research. In A. M. Huberman & M. B. Miles (Eds.), The qualitative researcher’s companion, (pp. 37-64). Thousands Oaks, CA:Sage Publications (Reprinted from Harvard Educational Review. 1992, 62, 3; 279-300).

Strauss, A., and Corbin, J. (1998). Basics of qualitative research: Techniques and procedures for developing grounded theory (2nd ed.). Thousand Oaks,CA: Sage.

Mcmillan, Jame H. and Schumacher, Sally. (1997). Research in Education. The United States of America : Addison – Wesley Educational Publishers Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-10