ศึกษาวิเคราะห์การขัดเกลากิเลสตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • ธนัทพร อุทัยสุทธิจิตร

คำสำคัญ:

ขัดเกลา, กิเลส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากิเลสตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษา การขัดเกลากิเลสตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3.เพื่อวิเคราะห์การขัดเกลากิเลสตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย บทความวิจัยนี้จะนำเสนอเฉพาะวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เท่านั้น ผลการวิจัยพบว่า : กิเลสตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นเจตสิกธรรมประเภทหนึ่ง กิเลสไม่ใช่เนื้อแท้ของจิตใจ กิเลสเป็นเหตุให้จิตของคนที่ตายแล้วย่อมเวียนว่ายตายเกิดต่อไปไม่มีเวลาสิ้นสุด การขัดเกลากิเลสด้วยอาศัยหลักพระวินัยปิฎกเพื่อขัดเกลากิเลสอย่างหยาบ หลักพระสุตตันตปิฎกเพื่อขัดเกลากิเลสอย่างกลาง หลักพระอภิธรรมปิฎกเพื่อขัดเกลากิเลสอย่างละเอียด กิเลสจำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ โลภะ คือกิเลสที่ทำให้จิตเกิดอาการอยากได้ โทสะ คือ กิเลสที่ทำให้จิตเกิดอาการขัดเคือง และโมหะ คือกิเลสที่ทำให้จิตเกิดอาการลุ่มหลง รวมเรียกว่าอกุศลมูล จำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด กระบวนการเกิดของกิเลส คือกระบวนธรรมที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กันในรูปกระแสแห่งความเป็นเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันและกัน มีลักษณะสัมพันธ์กับอารมณ์หรือสิ่งเร้าแบบเป็นระบบวงจรโดยไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบ โทษของกิเลส ได้แก่ ราคะมีโทษน้อยแต่คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว และ โมหะมีโทษมากแต่คลายช้า

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-10