การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยให้ปลอดจากการทุจริต: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบด้านการป้องกันการทุจริต

Main Article Content

เกริกเกียรติ แก้วมณี
จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการบริหาร และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ปลอดจากการทุจริต เป็นการวิจัยเชิงบุกเบิก (Exploratory Research) โดยจัดเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกจำนวน 47 คน จาก อปท. ต้นแบบด้านการป้องกันการทุจริตระยะที่ 1 (ปี พ.ศ.2556-2559) จำนวน 3 แห่ง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกหรือจัดกลุ่มข้อมูล (Typological Analysis) และสรุปสู่หลักการใหญ่เป็นผลการศึกษาในภาพรวมโดยวิธีอุปนัย (Inductive Method)


ผลการศึกษาพบว่า การบริหาร อปท. ให้ปลอดจากการทุจริตมีหลักการที่เป็นแกนกลาง 4 หลักการ ได้แก่ หลักความรับผิดชอบ หลักการนำองค์การ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความโปร่งใส และหลักการเสริมอีก 7 หลักการ ได้แก่ หลักคุณธรรมและจริยธรรม  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักนิติธรรม หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล หลักการตอบสนอง หลักการตรวจสอบถ่วงดุล และหลักการสร้างเครือข่าย ทั้งนี้ อปท. ต้องนำหลักการข้างต้นไปสร้างวิธีการบริหารผ่านประเด็นมุ่งเน้น 11 ด้าน ได้แก่ บทบาทการนำของผู้บริหาร จิตสำนึกและความตระหนักของทุกภาคส่วน การบริหารงานบุคคล การเงินและงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดเก็บรายได้ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ความเป็นเจ้าของท้องถิ่น การให้บริการประชาชน การตรวจสอบถ่วงดุล และเครือข่ายต่อต้านการทุจริต ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหาร อปท. ให้ปลอดจากการทุจริต ได้แก่ การทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบของผู้บริหาร พนักงานส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และสื่อสารมวลชน วัฒนธรรมการเมืองที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน  และระยะเวลาดำเนินการที่มากเพียงพอ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2557, 21 ตุลาคม). ปปช. ชี้ อปท. ทุจริตมากสุด ร้องจัดซื้อ
จัดจ้างอันดับ 1. คอลัมน์การเมือง. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 15, 2558, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/612639
- โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การเสริมสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 7(2), หน้า 5-22.
- โกวิทย์ พวงงาม. (2554). โครงการศึกษารูปแบบพฤติกรรมการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐเพื่อจัดทำมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม.
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 5, 2557, จาก https://www.igpthai.org/home/file.pdf
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2557). สรุปเรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ปปช. มีมติชี้มูลความผิด. สืบค้นเมื่อ กันยายน 10, 2557, จาก https://www.nacc.go.th/culpability.php
- องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย. (2559). ดัชนีวัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี พ.ศ.2558. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 1, 2559, จาก https://www.transparency-thailand.org/thai/index.php/2014-11-24-03-03-39/384-corruption-perceptions-index-2016
- Balalia, N. (2010). Corruption in local public administration: Mitigation proposals. Petroleum-Gas University of Ploiesti Bulletin, Law & Social Sciences Series, 62(2), pp.41-48.
- Transparency International. (2015). Local Governance Integrity: Principles and standards. Retrieved December 5, 2015, from https://www.transparency.org/whatwedo/publication/ local_governance_integrity_principles_and_standards