การรับรู้ข่าวสารปัญหาเด็กจมน้ำในประเทศไทย

Main Article Content

กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสารปัญหาเด็กจมน้ำของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก เด็ก และประชาชนทั่วไปโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยได้สุ่มเลือกจังหวัดตัวแทนภูมิภาค และกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำแนกเป็น เด็กอายุ 5-14 ปี รวม 4,000 ตัวอย่าง และประชาชนทั่วไป รวม 1,000 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ผลการสำรวจใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยการนำข้อมูลมาหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ


ผลการสำรวจ ในภาพรวมแล้วพบว่า กลุ่มประชาชนทั่วไปมีการรับรู้ข่าวสารปัญหาเด็กจมน้ำในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี ในเกือบทุกประเด็น ยกเว้นเพียงบางประเด็นเท่านั้นที่พบว่า กลุ่มเด็กจะมีการรับรู้ปัญหาที่สูงกว่า ได้แก่ “การจมน้ำทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ตายมากเป็นอันดับหนึ่ง”, “วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ”, “แหล่งน้ำใกล้บ้าน ทั้งแอ่งน้ำ บ่อขุด สระน้ำ เป็นแหล่งที่เด็กจมน้ำตายมากที่สุด” นอกจากนี้ผลการสำรวจยังบ่งชี้ได้ว่า ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารให้เกิดความรับรู้และเข้าใจที่ถูกต้องทั้งในกลุ่มเด็กและเยาวชนทั่วไปเนื่องจากมีสัดส่วนการรับรู้ในประเด็นดังกล่าวค่อนข้างน้อยในทั้งสองกลุ่ม ได้แก่


- “วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ” เด็กที่รับรู้มีร้อยละ 12.70 ขณะที่กลุ่มประชาชนทั่วไปรับรู้เพียง ร้อยละ 9.30


- เมื่อช่วยคนจมน้ำขึ้นมาบนฝั่งแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือ อุ้มพาดบ่าแล้วกระแทกเอาน้ำออก (ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง) นั้น พบว่า มีเด็กร้อยละ 56.28 และประชาชนทั่วไปถึงร้อยละ 71.60 รับรู้รับทราบว่าเป็นวิธีการปฏิบัติถูกต้องในการช่วยเหลือคนจมน้ำ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล, อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ และอภิชาติ เมฆมาสิน. (2546). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการจมน้ำในเด็ก พ.ศ.2543-2545. วารสารกรมควบคุมโรค, 29(ตุลาคม-ธันวาคม), หน้า 229-236.
- เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
- บุศรา ชัยทัศน์. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. (ม.ป.ป). สถานการณ์การจมน้ำในเด็ก 2543-2557 และยุทธศาสตร์ลดอันตราย ในปี 2560-2564. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม, 28, 2562, จาก http://www.csip.org/csip/autopage/show_page.php?h=119&s_id=137&d_id=138.
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. (2561). แนวทางการช่วยเหลือคนตกน้ำจมน้ำ. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 28, 2562, จาก http://www.niems.go.th
- ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ. (2549). ทบทวนวรรณกรรมการจมน้ำของเด็ก. กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
- ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ. (2550). ทบทวนวรรณกรรมการจมน้ำของเด็ก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
- ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ และและสุชาดา เกิดมงคลการ. (2552). จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำ พ.ศ. 2549-2551 (เอกสารไม่ตีพิมพ์). กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). พบเด็กจมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยวันละเกือบ 4 คน (17 มีนาคม 2557). สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 28, 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/23475
- สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2555). เรื่องเล่า ปิดเทอมอันตราย เด็กไทยจมน้ำตายมากที่สุด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
- สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ประเด็นสาระสำคัญสำหรับการป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2562. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 8, 2562, จาก http://www.thaincd.com/document/file/drowning
- สุชาดา เกิดมงคลการ และคณะ. (2552). สถานการณ์ตกน้ำจมน้ำของเด็กในประเทศไทย. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
- อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. (2549). การทบทวนเรื่อง สถานการณ์การจมน้ำในประเทศไทย และมาตรการแก้ไข. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 28, 2562, จาก http://www.csip.org/csip.
- อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. (2550). Child Accident รู้ทันอันตรายก่อนภัยถึงตัวเด็ก. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.
- World Health Organization. (2008). The global burden of disease: 2004 update. Geneva: World Health Organization.