ระบอบประชาธิปไตยอันเป็นปฏิปักษ์กับเสียงข้างมาก

Main Article Content

เอกสิทธิ์ หนุนภักดี

บทคัดย่อ

คำถามของบทความวิจัยนี้คือ ทำไมชนชั้นนำไทยจึงยินยอมให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 อันเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 8 ปีหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้ายในประเทศไทย 5 ปีหลังรัฐประหารครั้งล่าสุดและมีลักษณะพิเศษหลายประการที่แตกต่างไปจากการเลือกตั้งในอดีต


การศึกษานี้ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในระยะผ่านที่ประเมินความตั้งมั่นของประชาธิปไตยใน 2 ช่วงสำคัญคือช่วงก่อร่างวางฐาน (Installation) และช่วงลงหลักตั้งมั่น (Consolidation) เพื่อศึกษาปฏิบัติการทางการเมืองของชนชั้นนำไทยในช่วงเวลาดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลจากรัฐธรรมนูญ ข่าวและสารสนเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


ผลการศึกษาพบว่าการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 เกิดขึ้นภายหลังชนชั้นนำจัดแจงโครงสร้างและกลไกต่าง ๆ ตามระบอบประชาธิปไตยให้สามารถกำกับควบคุมเสียงข้างมากมิให้ริเริ่ม เห็นชอบและดำเนินนโยบายที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของอำนาจการเมืองและเศรษฐกิจได้ ซึ่งในบทความนี้เรียกระบอบดังกล่าวว่า ระบอบประชาธิปไตยอันเป็นปฏิปักษ์กับเสียงข้างมาก

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- เกษียร เตชะพีระ. (2555). 2 แนวโน้มที่แยกแย้งของระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ. ในสยามยามเปลี่ยน (ไม่) ผ่าน (หน้า 28-40.). กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
- ไทยพับลิก้า. (2562, 30 มีนาคม). วิเคราะห์ 2 สูตรคำนวณ “ส.ส.บัญชีรายชื่อ” ทำไมสื่อรายงานไม่ตรงกัน-เหตุกฎหมายยังคลุมเครือ-สูตรไหนสะท้อนเสียงประชาชน? สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 10, 2562, จาก https://thaipublica.org/2019/03/ thailand-election-2562-65/
- นักคณิตศาสตร์ชื่อดังแฉชัด ๆ กกต. คำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อผิดถึง 4 จุด. (2562, 10 พฤษภาคม). ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 10, 2562, จาก https://www.khaosod.co.th/election-2019/news_2502046
- นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550, 11 พฤษภาคม). นิธิ อภิปราย: การเมืองของการทำการเมืองให้ไม่การเมือง. ประชาไท. สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2562, จาก https://prachatai.com/journal/2007/05/12659
- บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2548). กฎหมายมหาชนเล่ม 2: การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชนและพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- บีบีซีไทย. (2562, 8 พฤษภาคม). เลือกตั้ง: กกต.ประกาศรับรอง 149 ส.ส. บัญชีรายชื่อ. บีบีซี. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 1, 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/ thailand-48197070
- ปกป้อง จันวิทย์ และธิติ มีแต้ม. (2562, 16 มกราคม). เปิดห้องเรียนนิติศาสตร์เพื่อราษฎร มองอนาคตการเมืองไทยกับวรเจตน์ ภาคีรัตน์. 101 World. สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2562, จาก https://www.the101.world/worachet-interview/
- ประชาไท. (2559, 8 พฤษภาคม). เพื่อไทยแถลงค้าน กกต. ใช้สูตรแจกที่นั่งพรรคต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อนาคตใหม่เตรียมฟ้องศาล รธน. ประชาไท สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2562, จาก https://prachatai.com/journal/2019/05/82385
- พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์. (2560, 5 มิถุนายน). สามปีรัฐประหาร: ทหารตบเท้านั่งรัฐวิสาหกิจบนสัญญาปฏิรูป. บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-40121632
- พรเทพ เฮง. (2557, 10 มิถุนายน). “อย่าให้รัฐประหารสูญเปล่า” สมคิด เลิศไพฑูรย์. โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2562, จาก https://www.posttoday.com/politic/report/299881?fbclid=IwAR3hxgRsypQGJAINhwAkM4NnSZNpRZg40Tf8abMtSK-21xGS3Zefy0FNvrU
- ภูริ ฟูวงศ์เจริญ. (2558). สถาบันปรปักษ์เสียงข้างมาก: การออกแบบระบบการเมืองเพื่อเสถียรภาพของประชาธิปไตยในระยะเปลี่ยนผ่าน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 13(1), หน้า 48-71.
- มติชนออนไลน์. (2559,19 กุมภาพันธ์). บวรศักดิ์ลั่นเปลืองตัว-เสียใจร่าง รธน. ไม่ผ่าน เปรย เข้าใจได้เพราะ “เขา” อยากอยู่ยาว. สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2562, จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_44274
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 1-127.
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2558). กรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากจัดรายการทำอาหารทางโทรทัศน์. ใน ด้วยกฎหมายและอุดมการณ์: รวมบทอภิปรายและบทสัมภาษณ์. กรุงเทพฯ: ไชน์พับลิชชิ่งเฮ้าส์.
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2562). กรณีศาลรัฐธรรมนูญไทยรักษาชาติ (ฉบับเต็ม). สืบค้นเมื่อ มีนาคม 15, 2562, จาก https://www.youtube.com/watch?v= lyIXhRTe2nc
- อธึกกิต แสวงสุข. (2558, 24 สิงหาคม). วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ชำแหละร่าง รธน. (1). สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2562, จาก https://www.facebook.com/notes/ atukkit-sawangsuk/วรเจตน์-ภาคีรัตน์-ชำแหละร่าง-รธน1/701030506645448/
- สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2553). ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ 14 ตุลา.
- สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2561). ระบบเลือกตั้งเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
- หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ. (2562, 2 มกราคม). เลือกตั้ง 2562: หลังเลือกตั้งเราจะเห็นความผิดหวังที่เพิ่มทวีขึ้นเพราะผู้กำกับกรอบการเลือกตั้งที่ดื้อรั้น. บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/46698245.
- Suehiro, Akira. (2009). Tai Chuushinkoku no Mousaku, Tokyo: Iwanami.