Supply Chain Management with SCOR Model of Fresh Vegetables Meeting Good Agricultural Practice Standard in Chiang Mai Province

Main Article Content

พัชรินทร์ สุภาพันธ์
เบญจพรรณ เอกะสิงห์

Abstract

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงการเชื่อมโยงการจัดการกระบวนการห่วงโซ่
อุปทานผัก GAP ที่นำมาสู่การปรับปรุงในกระบวนการจัดการ โดยการสำรวจภาคสนาม
ด้วยวิธีการจัดท????ำเวทีสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
เกษตรกรผู้ผลิตผักที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ในฐานข้อมูลของสวพ. เขตที่ 1
จ????ำนวน 58 ครัวเรือน พ่อค้าคนกลาง จำนวน 13 ราย และเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการ
หลวงจ????ำนวน 12 ราย รวมทั้งสิ้น 83 ราย นำมาวิเคราะห์ด้วยตัวแบบอ้างอิงการปฏิบัติ
งานโซ่อุปทานด้วย 5 กระบวนการหลักคือ การวางแผนการจัดหาปัจจัยการผลิต การผลิต
การขนส่งและการส่งคืนผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรต้องการผลิตผักภายใต้มาตรฐาน
GAP มากขึ้น เนื่องจากตลาดมีความต้องการผลผลิตที่มีความปลอดภัยโดยเกษตรกรมี
ความสอดคล้องสำหรับการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP ทั้ง 5 ด้าน ในระดับเหมาะสมดีมาก
ได้แก่ ด้านการจัดการสุขลักษณะแปลงผัก การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร
การจัดการปัจจัยการผลิตการปฏิบัติ และการควบคุม และการบันทึกและควบคุมเอกสาร
ผลผลิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP มีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน ถึงแม้ว่าพ่อค้าคนกลางรับ
ซื้อผลผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไปยังตลาดปลายทาง (กรุงเทพฯ และเชียงใหม่) ไม่ได้คำนึงถึง
มาตรฐานดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยของผลผลิตที่ไม่มีสารเคมีตกค้างและ
ความสามารถทวนสอบย้อนกลับสู่การผลิตในแปลง นำมาซึ่งความได้เปรียบการแข่งขัน
ทางการค้า

Article Details

How to Cite
สุภาพันธ์ พ., & เอกะสิงห์ เ. (2017). Supply Chain Management with SCOR Model of Fresh Vegetables Meeting Good Agricultural Practice Standard in Chiang Mai Province. Parichart Journal, 30(1), 95–119. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/83419
Section
Research Articles