ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำข้อมูลเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์ เข้าระบบ GFMIS ผ่าน Web Online (บช 11) ของโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นศูนย์ต้นทุนภายใต้ หน่วยเบิกจ่ายในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ปิยาภา เชาวลิต

บทคัดย่อ

การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ   ของการนำข้อมูลเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์เข้าระบบ GFMIS ผ่าน Web Online (บช 11) ของโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นศูนย์ต้นทุนภายใต้หน่วยเบิกจ่ายในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าข้อมูลผ่านระบบ GFMIS จำนวนทั้งสิ้น 99 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จากประชากร 912 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูล ทั่วไป การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ความร่วมมือร่วมใจ และสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงาน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบทีละขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำข้อมูลเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์เข้าระบบ GFMIS ผ่าน Web Online (บช 11) ของโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นศูนย์ต้นทุนภายใต้หน่วยเบิกจ่ายในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ปัจจัยความร่วมมือร่วมใจ   (Beta = .338) ปัจจัยสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงาน (Beta = .272) และปัจจัยการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Beta = .252) โดยทั้ง 3 ตัวแปรสามารถร่วมอธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 50.00 (adj.R2 = .500, p=<.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


          การเพิ่มหน่วยต้นทุนภายใต้หน่วยเบิกจ่ายในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการนำเข้าข้อมูลเงินนอกงบประมาณเข้าระบบ GFMIS ต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจข้อมูล ซึ่งจะส่งผลให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมบัญชีกลาง. (2554). คู่มือการปฏิบัติงานระบบเบิกจ่ายเงินผ่าน GFMIS Web Online. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2560 จาก: http//www.cgd.go.th.

จิรัฎฐิติ ไทยศิริ และ ประจักร บัวผัน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 123-134.

จิราพร เวชพันธ์ และ ดาระกา ศิริสันติสัมฤทธิ์. (2552). รายงานการวิจัยการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความสามารถในการตรวจสอบได้ ของการดำเนินงานการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรนิกส์. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สืบค้นเมื่อ 12 พ.ค. 61 จาก: https://161.246.14.22/research/i ndex.php/ research/2552/Income2552/

ชมพูนุช หุ่นนาค. (2553). การประเมินผลระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยบริการ, 21(2), 45-63.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ.

ทิวากาล ด่านแก้ว และ ฐิติรัตน์ มีมาก. (2556). ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อศักยภาพในการทำงานของนักบัญชีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(3), 49-64.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมภิบาล (Good government) ในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ปริศนา พิมพา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประสาสนศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ฝนทอง พวงประทุม. (2555). ปัญหาการทำบัญชีในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ GFMIS Web Online ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีในสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมจังหวัดนครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลธัญบุรี).

วนิดา ชุติมากุล. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรการเงินและการบัญชี: กรณีศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารสังคมศาสตร์, 2(1), 1-8.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สํานักงาน ก.พ.). (2553). คู่มือการกําหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี: ประชุมช่าง.

อรสุดา ดุสิตรัตนกุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ศึกษาเฉพาะกรณีของบุคคลส่วนกลาง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Pearson Education.