พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

Main Article Content

จิรพรรณ ผิวนวล
ประทุม เนตรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่เป็นโรค ดัชนีมวลกาย และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีค่า HbA1C มากกว่าร้อยละ 7 ในปี 2561 อาศัยอยู่หมู่ที่ 1 – 3 ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง จำนวน 54 คน ใช้ทุกคนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าระหว่าง 0.67-1 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ทั้งฉบับเท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์แบบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


         ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (µ=2.43, S.D.=0.60) เพศ อาชีพ และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรอื่นๆ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน


          ดังนั้น สถานบริการสาธารณสุขควรดำเนินการรวมกลุ่มและแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้  เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองให้เหมาะสม และควรมีการวางแผนการบริหารยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นรายบุคคล เพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับช่วงเวลาและได้รับประทานยาตามแผนการรักษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา คำลอยฟ้า. (2554). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิก โรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 17(1), 17-30.

ชัชลิต รัตรสาร. (2560). สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อ ปฏิรูปการดูแลรักษาโรค เบาหวานในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2560 จาก: https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf

ชุติมา ลีลาอุดมลิปิ. (2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาล ห้วยผึ้งจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 2(1), 64-75.

ทัศนีย์ เทิดจิตไพศาล และคณะ. (2557). พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย โรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การประชุมวิชาการและนำาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร.

นันนภัส พีระพฤฒิพงศ์, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และ อำภาพร นามวงศ์พรหม. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองต่อความรู้ กิจกรรมการดูแลตนเอง และค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(2), 98-105.

นันทิยา วัฒายุ. (2552). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(4), 18-26.

สุปรียา เสียงดัง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 191-204.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. (2561). รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานในอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2559.กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพลส จำกัด.

American Diabetes Association. (2016.). Standards of medical care in diabetes-2016. Diabetes Care, 39(1), 111-119.

Best, J. (1981). Research in Education (4th ed.). London: Prentice-Hall International

Orem, D. E. (1995). Nursing: Concepts of Practice. Missouri: C.V. Mosby.

World Health Organization. (2014). Global status report on non-communicable diseases. Geneva: World Health Organization