ระยะเวลาการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลสงขลา

Main Article Content

รุ่งสุรีย์ ชูช่วงโชติ
รำไพพรรณ บุญชู
จิรวรรณ สังข์สกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระยะเวลาการบริหาร          ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลสงขลา 2) เพื่อศึกษาเหตุผลการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข้าเทียมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลสงขลา ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 ศึกษาระยะเวลาการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ประชากรที่ใช้ คือ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการบริหารยาปฏิชีวนะ (Cefazolin) ก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลสงขลา จำนวน 67 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือแบบบันทึกข้อมูลระยะเวลาการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดฯ ผ่านตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า IOC เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ตอนที่ 2 ศึกษาเหตุผลการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ให้ข้อมูล เป็นวิสัญญีพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลสงขลา จำนวน 17 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแนวคำถามปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้างและเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


1. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายมีระยะเวลาการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดที่เวลา 30-60 นาทีก่อนลงมีดผ่าตัดร้อยละ 30.23 (µ= 32.82 นาที , σ =3.41) สำหรับที่เวลาน้อยกว่า 30 นาทีก่อนลงมีดผ่าตัดร้อยละ 69.67 (µ= 22.33 นาที, σ =3.14) สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมภายใต้การระงับความรู้สึกแบบฉีดยาเข้าช่องไขสันหลัง มีระยะเวลาการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดที่เวลา 30-60 นาทีก่อนลงมีดผ่าตัดร้อยละ 37.50 (µ=32.44 นาที, σ =4.33) สำหรับการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดที่เวลาน้อยกว่า 30 นาทีก่อนลงมีดผ่าตัดร้อยละ 62.50 (µ= 19.40 นาที, σ =6.65)         

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ เจริญชลวานิช. (2559). บทความการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมคืออะไร ทำอย่างไร? สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2561 จาก www.samitivejchinatown.com

คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. (2553). คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาระบบประสาทส่วนกลาง เล่ม 1: ขั้นตอนและกรอบแนวคิดการใช้ยาอย่าง สมเหตุสมผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันทร์เพ็ญ บัวเผื่อน. (ม.ป.ท.). การป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งแผลผ่าตัด. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 จาก https://infectioncontrol.kku.ac.th/images/stories/download/manual_practice /c6_b_12.pdf.

ธัญต์ชนก วนสุวรรณกุล. (2552). ตำราวิสัญญีวิทยาพื้นฐาน: Local Anesthesia. สงขลา: ชาญเมืองการพิมพ์. ปรางมาลี ลือชารัศมี. (2559). การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง (Spinal Anesthesia). สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2561 จาก http://med.cmu. ac.th /dept.Anes/2016/SpinalAnesthesia.

พัชรพล อุดมเกียรติ. (2554). การรักษา “ข้อเข่าเสื่อม” โดยการผ่าตัด. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560จาก http://www. si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=854.

ภิเษก บุญธรรม. (2552). Antibiotic in Surgery: Antibiotic Prophylaxis. วารสารแพทย์ทหารบก, 62(3): 149-151.

ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่ง ประเทศไทย. (2554). แนวปฏิบัติบริการสาธารสุข โรคข้อเข่าเสื่อม Total Knee Arthroplasty. สืบค้นจาก http://www.chiangmaihealth.go.th/ mphoweb/ cdocument/160610146554495425.pdf เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561.

วรสรวง ทองสุข. (2555). ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา: การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาชาเฉพาะส่วน. กรุงเทพ: ธนาเพลสจำกัด.

วัชระ วิไลรัตน์. การป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดกระดูกและข้อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2561 จาก http://ortho.md.chula.ac.th/student/sheet/protect.html.

วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. (2557). ผลการรักษาระยะกลางในผู้ป่วยอายุน้อยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม. วารสารราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, 38(1): 3-8.

วุฒิชัย ธนาพงศธร. (2549). Surgical infection. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561 จาก http://tcithaijo.org/index.php/RNJ/ article/down-Load/19179/18380.

อรรัตน์ กาญจวนิชกุล. (2552). ตำราวิสัญญีวิทยาพื้นฐาน: General Anesthesia. สงขลา: ชาญเมืองการพิมพ์.

อานันท์ชนก ศฤงคารินกุล. (2555). การระงับความรู้สึกทั่วร่าง (General Anesthesia). สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2561 จาก http://med.cmu.ac.th/dept.Anes/2012/ General Anesthesia.

Hawn, M. T., Richman, J. S., Vick, C. C., Deierhoi, R. J., Graham, L. A., Henderson, W. G., & Itani, K. M. (2010). Timing of surgical antibiotic prophylaxis and the risk of surgical site infection. JAMA Surgery, 148(7), 649-657. doi:10.1001/jamasurg.2013.134.