ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยหนัก

Main Article Content

ทองเปลว ชมจันทร์
ปาริชาติ ลิ้มเจริญ

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้าย ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยหนัก โดยใช้กรอบแนวคิดความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตของกาลิโอเน่ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้าย ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสิงห์บุรี จำนวน 86 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้าย มีค่าความเชื่อมั่น .85 และ.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการ ด้วยการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า


  1. ค่าเฉลี่ยความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.29, SD = 1.71) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านข้อมูลข่าวสารมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านอารมณ์ ด้านจิตวิญญาณ และด้านร่างกาย ตามลำดับ (M = 3.97, 3.36, 3.34 และ 2.50; SD = 1.32, 1.55, 1.59 และ 1.37)

  2. ค่าเฉลี่ยการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.02, SD = 1.66) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านข้อมูลข่าวสารมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านอารมณ์ ด้านจิตวิญญาณ และด้านร่างกาย ตามลำดับ (M = 3.81, 2.92, 2.87 และ 2.48; SD = 1.60, 2.24, 2.83 และ 2.96)

  3. ผลการเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยหนัก โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =1.33, p = .018)

          ผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้าย ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยหนักต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.

กุลพิชฌาย์ เวชรัชต์พิมล. (2560). แนวทางการสนทนาเพื่อเพิ่มคุณภาพการบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายในหอผู้ป่วยไอซียู. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(3), 363-371.

ชุลินดา ทิพย์เกษร, วัลภา คุณทรงเกียรติ, และสุภาภรณ์ ด้วงแพง. (2560). ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤติระยะสุดท้าย. วารสารกองการพยาบาล, 44(4), 80-99.

นิษฐา เอื้ออารีมิตร. (2560). Is it time to think about palliative care in ICU. วารสารเวชบำบัดวิกฤต, 25(1), 28-31.

นูรดีนี แมเร๊าะ, วราภรณ์ คงสุวรรณ, และกันตพร ยอดใชย. (2560). อุปสรรคในการดูแลแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยไอซียู: ประสบการณ์ของพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3), 74-82.

ประสิทธิ์ วัฒนาภา. (2560). The best ICU. ใน ดุสิต สถาวร, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, และสหดล ปุญญถาวร. (บ.ก.), Best practice in critical care. (หน้า 1-5). กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอนเตอร์ไพรซ์.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2558). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในการวิจัย.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 8(2), 24- 40.

ปทิตตา นึกเว้น, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, และธิราภรณ์ จันทร์ดา. (2559). การรับรู้และการดูแลของพยาบาลต่อการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารการพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(1), 128-140.

ปาริชาติ ลิ้มเจริญ, วลัยภรณ์ นันทศุภวัฒน์, และวารินทร์ บินโฮเซ็น (2559). คุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยหนัก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(1), 113-121.

รุ่งนภา เขียวชอ่ำ, ศรีสุดา งามขำ, คงขวัญ จันทรเมธากุล, รัชสุรีย์ จันทเพชร, และสาคร พร้อมเพราะ. (2556). ความต้องการข้อมูลของญาติผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 30(1), 24-34.

เยาวลักษณ์ คุมขวัญ, และปรียสลิล ไชยวุฒิ. (2559). การเตรียมความพร้อมของญาติเพื่อส่งเสริมการตายอย่างสมศักดิ์ศรีในผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 125-138.

วราภรณ์ คงสุวรรณ. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิตที่ใช้เทคโนโลยี (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

วราภรณ์ คงสุวรรณ, และเยาวรัตน์ มัชฌิม. (2555). การตัดสินใจในระยะสุดท้าย: สถานการณ์ตัวอย่างในการปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วยไอซียู. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 32(2), 59-68.

วาริน่า หนูพินิจ, กิตติกร นิลมานัต, และเยาวรัตน์ มัชฌิม.( 2560). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับ สมรรถนะการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของพยาบาลวิชาชีพในไอซียู. วารสารสภาการพยาบาล, 32(4), 94-106.

สุริยา ฟองเกิด, ศุภรา หิมานันโต, และสืบตระกูล ตันตลานุกูล. (2559). การพยาบาลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายในหอผู้ป่วยหนัก ตามบริบทของสังคมไทย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(ฉบับเพิ่มเติม 1), 170-178.

สุพัตรา อุปนิสากร, และจารุวรรณ บุญรัตน์. (2556). ประสบการณ์ของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ ในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 33(3), 37-50.

ศิริรัตน์ วิชิตตระกูลถาวร, กานดา อิ่มสงวน และกนกพร สุคำวัง. (2556). ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยสูงอายุและครอบครัวในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 40 (พิเศษ มกราคม 2556), 35-46.

อิสรีย์ ศรีศุภโอราฬ, และนรลักษณ์ เอื้อกิจ. (2559). ผลของโปรแกรมการตอบสนองความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตต่อความวิตกกังวลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤต. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(3), 77-91.

Gaglione, K.M. (1984). Assessing and intervention with families of CCU patients. Nurs Clin North Am, 19(3), 247-432.