ความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบระหว่างการวัดผลการดำเนินงานด้วยตัวแปรทางบัญชี ตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์กับมูลค่าเพิ่มทางการตลาดของธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

พูนศักดิ์ แสงสันต์
กาญจนาท เรืองวรากร
นรินทร สมทอง

Abstract

การวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบระหว่าง ตัวชี้วัดด้วยตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย EVA, REVA, EVAM และตัวชี้วัดด้วยตัวแปรทางบัญชี ประกอบด้วย ROI, ROE, ROA, NP, EBIT กับมูลค่าเพิ่มทางการตลาด (MVA) ขององค์การธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2554 - 2558 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิประเภทอนุกรมเวลารายปี ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression) ในการทดสอบสมมติฐานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS

ผลการวิจัยพบว่า ROIC, ROE, ROA และ EVAM ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ MVA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ REVA และ NP มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับ MVA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (\beta = 0.680, (\beta = 1.583) ส่วน EVA และ EBIT มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกันกับ MVA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (\beta = 0.182, \beta = 0.691)

 

THE RELATIONSHIP BETWEEN THE COMPARATIVE PERFORMANCE EVALUATION USING ACCOUNTING VARIABLE, ECONOMIC MEASURE AND MARKET-BASE MEASURE OF AGRICULTURAL AND FOOD INDUSTRY BUSINESS LISTED IN THAILAND STOCK EXCHANGE

This study was conducted for the purpose of comparison the correlation between two group of performance measures being economic measures: EVA, REVA, EVAM, accounting variable measures: ROI, ROE, ROA, NP, EBIT with market value added measures of agricultural and food industry businesses listed in Thailand stock exchange from 2011 to 2015. The data of the study was time series collected from secondary sources by documentation records in the Thailand stock exchange. Using the techniques of descriptive statistics the collected data were analyzed in terms of mean and standard deviation. The analysis was conducted by using classic assumption testing consisting of normality testing. The hypothesis was tested by multiple regression analysis, correlation coefficient, coefficient of determination using SPSS.

The results of  the study indicated that ROIC, ROE, ROA and  EVAM had no significant correlate towards MVA, meanwhile REVA and NP had a significant  correlate (\beta = 0.680, (\beta = 1.583)  on MVA, where REVA and NP had a positive effect direction on MVA. The results simultaneous testing indicated that EVA and EBIT had a significant correlate (\beta = 0.182, \beta = 0.691) by negative effect on MVA.

Article Details

How to Cite
แสงสันต์ พ., เรืองวรากร ก., & สมทอง น. (2017). ความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบระหว่างการวัดผลการดำเนินงานด้วยตัวแปรทางบัญชี ตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์กับมูลค่าเพิ่มทางการตลาดของธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Ph.D. In Social Sciences Journal, 7(2), 107–122. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/73825
Section
Research Article