ประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พรชัย อรัณยกานนท์
พรจิต อรัณยกานนท์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จำแนกตามปัจจัยภูมิหลัง และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ประชากรการวิจัย คือ นักศึกษาของ กศน. เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปี พ.ศ.2559 จำนวน 496 คน ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 220 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ การหาค่าเฉลี่ย (\bar{X}) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับจริงมาก (\bar{X} = 3.82, SD = 0.56) สำหรับผลการพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.76-3.92

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จำแนกตามสถานภาพด้านเพศโดยภาพรวม พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สถานภาพด้านอายุ โดยภาพรวม พบว่า ประสิทธิผลการบริหารจัดการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลที่ได้จากการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) พบว่า ตัวแปรประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านการศึกษาพื้นฐาน ด้านการศึกษาเพื่ออาชีพการงาน ด้านการศึกษาเพื่อชีวิต และด้านการศึกษาเพื่อสังคมและชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารจัดการสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

THE MANAGEMENT EFFECTIVENESS OF NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION (NFE), THAWI WATTHANA DISTRICT, BANGKOK METROPOLIS

In this research investigation, the researcher studies (1) the management effectiveness of non-formal and informal education (NFE). The researcher also compares (2) the management effectiveness of NFE as classified by background factors. Finally, furthermore, the researcher examines (3) the relationship between educational institution management and NFE management effectiveness.

The research population consisted of 496 NFE students in Thawi Watthana district, Bangkok, who were at the secondary and higher secondary school levels in 2016. The sample population consisted of 220 subjects.

Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of frequency, mean, and standard deviation. Moreover, the researcher employed a t-test technique in addition to the one-way analysis of variance (ANOVA) technique. Furthermore, the researcher employed content analysis.

Findings are as follows:

1. The management effectiveness of NFE was overall found to be at a high level (\bar{X} = 3.82, SD = 0.56). In analyzing all aspects, the researcher found that M fell between 3.76 and 3.92 in all cases.

2. In comparing data pertaining to NFE management effectiveness overall as classified by gender, it was found that concomitant differences were found at the statistically significant level of .01. Regarding the aspect of age, it was determined that, overall, NFE management effectiveness showed parallel differences at the statistically significant level of .01.

3. The researcher also found that the relationship between education institution management and NFE management effectiveness showed a positive relationship. Insofar as concerns the variables of NFE management effectiveness overall, a positive relationship was found at the statistically significant level of .01. Concerning the four aspects of basic education, career education, life education, and social and community education, positive relationships obtained between these aspects and educational institution management at the statistically significant level of .01.

Article Details

How to Cite
อรัณยกานนท์ พ., & อรัณยกานนท์ พ. (2017). ประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. Ph.D. In Social Sciences Journal, 7(2), 151–163. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/76850
Section
Research Article