การเพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดผลผลิตเห็ดของกลุ่มธุรกิจชุมชนรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อาชวิน ใจแก้ว

Abstract

การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตเห็ดและพัฒนาตลาดผลผลิตเห็ดของกลุ่มธุรกิจชุมชนรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากร คือ หัวหน้ากลุ่มและสมาชิกกลุ่มธุรกิจชุมชนรวมใจพอเพียง จำนวน 35 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มมีศักยภาพในการผลิตที่เพิ่มขึ้นมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้ (1) การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิตก้อนเห็ดนางฟ้ามีการใช้หม้อนึ่งที่มีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 2 ใบ ทำให้สามารถนึ่งได้ครั้งละ 180 ก้อน (2) การเพิ่มโรงเรือนสำหรับเห็ดโคนน้อยอีก 1 โรงเรือน และ (3) กลุ่มสามารถผลิตก้อนเห็ดด้วยตนเองผ่านการบริหารจัดการผู้นำที่มีความทุ่มเท มีภาวะผู้นำสูง เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร และใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดคุณค่า

การพัฒนาตลาดด้วยการระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพบว่า ผลผลิตเห็ดมีความโดดเด่นด้านรูปร่างที่สวยงามและมีคุณภาพ มีน้ำหนักดี ผลผลิตต่อก้อนเพิ่มขึ้น รวมทั้งการทำต้นแบบโลโก้สำหรับเห็ดโคนน้อย ด้านการกำหนดราคาใช้วิธีการตกลงราคาร่วมกันด้วยวิธีต้นทุนบวกเพิ่มโดยอาศัยต้นทุนและกำไร เป็นหลัก และอ้างอิงราคาตลาด ด้านช่องทางจำหน่าย มีช่องทาง 2 รูปแบบ คือ (1) จำหน่ายภายในชุมชน ณ บริเวณหน้าที่ทำการของกลุ่มและตลาดชุมชนช่อแล โดยยังคงกำหนดราคาขายต่ำกว่าตลาดเล็กน้อยเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกลุ่มสมาชิกและชุมชน และ(2) กาดหลวงเมืองแกนและตลาดแม่มาลัย เพื่อรองรับกับผลผลิตเห็ดที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มศักยภาพทางการผลิต รวมถึงเพิ่มโอกาสทางการตลาด ด้านการส่งเสริมการขายโดยได้ร่วมกันทำป้ายให้เห็นชัดเจนขึ้นหน้าที่ทำการของกลุ่ม จัดทำโลโก้สำหรับผลผลิตเห็ดโคนน้อย จัดทำเสื้อประจำกลุ่มสำหรับประชาสัมพันธ์ให้กับผู้มาศึกษาดูงาน ณ ที่ทำการของกลุ่มรวมถึงเรื่องบุคคลโดยผู้นำกลุ่มจะเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลของกลุ่มแก่ชุมชนหรือ เมื่อได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรให้ความรู้กับหน่วยงานอื่น

 

INCREASING THE POTENTIALITIES OF PRODUCTION AND MARKETING MANAGEMENT OF MUSHROOM PRODUCTS OF RUAMJAIPHOPEANG COMMUNITY BUSINESS GROUP AT CHOLAE SUB-DISTRICT, MAE TAENG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE

The objectives of the research were to study how to enhance the potentialities in the mushroom production and develop strategies for marketing of mushroom products of Ruamjaiphopeang Community Business Group at Chaw Lae Sub-district, Mae Taeng District, Chiang Mai province. This study is a Participatory Action Research (PAR) which was the cooperation between research team, and the leader and members of Ruamjaiphopeang Community Business Group. The data collection instruments used in the research were a document study, in-depth interview, and participatory action training.

The results has increased due to the following factors: (1) The use of tools and equipment to aid in production process to optimize and economize on the use of resources. The use of two additional large streamers to stream about 180 bales of mushroom at a time when producing Sarjor-caju mushroom. (2) The construction of one more mushroom house for Corpinus SPP mushrooms in order to provide more space for an increasing number of mushroom bales. (3) The production of mushroom bales by themselves in order to reduce the costs. Additionally, the strengths that support the potential of this business group are the leader who is dedicated, has strong leadership, and is also a local scholar in agriculture. The group wisely uses the local resources and materials to add value to products such as rice barn and straw.

Dealing with mushroom market development, especially, product factor, the group can produce distinguished mushrooms with good quality, beautiful shape, and good weight; moreover, the mushroom yield rate per bale increases.  The group also creates a logo of Corprinus SPP mushroom. With regards to pricing, the group has brainstormed and agreed to use a cost-plus pricing methods based on cost, profits, and a reference market price.  For selling in the communities, the selling price is slightly below market price in order to help the members of the group and communities. For promotion factor, members of the group can see sales opportunities to increase revenues, create a logo and labels for Corprinus SPP mushroom, and have a group shirt to publicize their group to other visitors who visit their place. The group leader will be a person who provides information about their work and shares knowledge when she was invited to be a guest speaker.

Article Details

How to Cite
ใจแก้ว อ. (2017). การเพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดผลผลิตเห็ดของกลุ่มธุรกิจชุมชนรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. Ph.D. In Social Sciences Journal, 7(1), 29–43. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/78322
Section
Research Article