การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมที่ยั่งยืนรอบนิคมอุตสาหกรรม: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร

Main Article Content

วิวัฒน์ กรมดิษฐ์
อำนวย บุญรัตนไมตรี

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (2) ศึกษาสังคมที่ยั่งยืนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการสิ่งแวดล้อมกับสังคมที่ยั่งยืนรอบนิคมอุตสาหกรรม

ขอบเขตการวิจัยเป็นการศึกษาพื้นที่ทำการศึกษา คือ พื้นที่รอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ทำการศึกษาโดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างของประชากรผู้อยู่อาศัยรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จำนวน 1,994 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผล ด้วยวิธีการเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติสหสัมพันธ์คาโนนิคอล และการวิเคราะห์เส้นทาง ตามสมมติฐานการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ด้วยคำถามเชิงลึกในการลงพื้นที่จริง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้นำชุมชน จำนวน 8 ท่าน เพื่อนำบทสัมภาษณ์มาสนับสนุนข้อค้นพบของการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัยและผลการทดสอบสมมติฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. การจัดการสิ่งแวดล้อมรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครโดยให้ความสำคัญในด้านการวางแผน และการปฏิบัติตามแผน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดการสิ่งแวดล้อมรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครสามารถบรรลุการดำเนินการได้อย่างดี

2. สังคมที่ยั่งยืนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เป็นเรื่องเกี่ยวกับชุมชนต้องการสร้างสังคมที่ดี และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี

3. การจัดการสิ่งแวดล้อมรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครโดยการวางแผน และการปฏิบัติตามแผนที่ดี มีผลต่อสังคมที่ยั่งยืนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร

 

ENVIRONMENTAL MANAGEMENT FOR THE SUSTAINABLE SOCIETY AROUND INDUSTRIAL ESTATES: A CASE STUDY OF AMATA NAKORN

The objectives of this study are; (1) to study environmental management around Amata Nakon Industrial Estate, (2) to study sustainable society around Amata Nakon Industrial Estate, and (3) to study the relationship between environmental management and sustainable society around industrial estate.

The scope of this study focused in the area around Amata Nakon Industrial Estate. Data collection had done by gathering questionnaire from 1,994 people around the industrial estate. The data was analysed, summarised, and discussed by quantitative method. Canonical correlation technique was applied. Moreover, qualitative method was applied by in-depth interviewing 8 community leaders. They had well understood in the area. Those scripts purposely supported the findings based on the objectives and hypothesis testing.

This study found firstly, environmental management around Amata Nakon Industrial Estate emphasized in planning and operating which were important functions for achieving the targets. Secondly, sustainable society around the industrial estate reflected the want of community in creating better society and environment. Lastly, planning and operating of environmental management affected to sustainable society around the industrial estate.

Article Details

How to Cite
กรมดิษฐ์ ว., & บุญรัตนไมตรี อ. (2017). การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมที่ยั่งยืนรอบนิคมอุตสาหกรรม: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. Ph.D. In Social Sciences Journal, 7(2), 202–216. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/78574
Section
Research Article