การนำการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การมาสนับสนุนการการบริหารจัดการคุณภาพภาครัฐ

Main Article Content

มโนชัย สุดจิตร

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการหาแนวทางการนำระบบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ (ERM) มาสนับสนุนการดำเนินงานการบริหารคุณภาพภาครัฐ (PMQA) ซึ่งเป็นระบบหลักที่ส่วนราชการต้อง ดำเนินงานภายใต้กรอบ แนวทางและมาตรฐานที่ทางการกำหนด ผลการศึกษาพบว่า ERM ตามกรอบของ COSO-ERM:2004 ที่ส่วนราชการใช้เป็นเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงในปัจจุบัน สามารถนำมาสนับสนุน และดำเนินงานในลักษณะบูรณาการร่วมกับการทำ PMQA ได้ กล่าวคือ หมวดที่ 1 การนำองค์การ บูรณาการ กับ ERM ด้าน การจัดสภาพแวดล้อมภายในองค์การให้เหมาะสม การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การนำข้อมูลและการสื่อสารเชิงความเสี่ยง หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงยุทธ์ศาสตร์ บูรณาการกับ ERM ด้าน การระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง ในขั้นตอนการวางแผนยุทธ์ศาสตร์ ใช้การตอบสนองความเสี่ยง ในขั้นตอนการนำแผนสู่การปฏิบัติ ใช้การกำกับและติดตามด้วยกระบวนการ การควบคุมความเสี่ยง และการ ติดตามประเมินความเสี่ยง หมวดที่ 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บูรณาการ กับ ERM ด้านข้อมูลและการสื่อสารเชิงความเสี่ยง หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ บูรณาการกับการทำ ERM ในด้าน การให้ข้อมูลและการสื่อสารเชิงความเสี่ยง และการติดตามประเมิน ความเสี่ยงหมวดที่ 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล บูรณาการกับการทำ ERM ในด้านการจัดสภาพแวดล้อม ภายในองค์การ และการให้ข้อมูลและการสื่อสารเชิงความเสี่ยง หมวดที่ 6 การจัดการกระบวนการ บูรณาการ กับการทำ ERM ในด้าน การจัดสภาพแวดล้อมภายในองค์การ การตอบสนองความเสี่ยง การควบคุม ความเสี่ยง และการติดตามประเมินความเสี่ยง และหมวดที่ 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ เป็นผลลัพธ์จากการ บูรณาการกับการทำ ERM ในทุกด้าน และหากส่วนราชการใดสามารถนำ ERM มาบูรณาการร่วมกับการทำ PMQA ได้ จะส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารราชการแผ่นดินภาพรวม

 

ENTERPRISE RISK MANAGEMENT (ERM.) SUPPORT FOR PUBLIC SECTOR MANAGEMENT QUALITY APPRASIAL: PMQA

The purpose of this article is to study the Enterprise Risk Management (ERM) to support Public Sector Management Quality Appraisal (PMQA), which is a bureaucratic system in Thailand operated under regulator’s guideline and TQM standard. The study found that ERM can be used to support and operate as an integrate PMQA operation. Which divided into 7 parts as follows: Part 1 The leadership integrate ERM with environmental risk management setting, objective setting and information and communication of risk : Part 2 The Strategic planning integrate ERM with risk identification and risk analysis in step of planning formulation; risk response, risk control & monitor in step of implementation and monitor planning: Part 3 Customer and stakeholders focus integrate ERM with information and communication of risk: Part 4 Measurement, Analysis, and Knowledge management integrate ERM with information and communication of risk and risk monitor: Part 5 Human resource focus integrate ERM with environmental risk management setting and information and communication of risk: Part 6 Process management integrate ERM with environmental risk management setting, risk response, risk control and risk monitor: Part 7 Operational results integrate with all ERM activities. So public agencies follow up ERM integrate with PMQA in which will be public services effectiveness overall.

Article Details

How to Cite
สุดจิตร ม. (2016). การนำการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การมาสนับสนุนการการบริหารจัดการคุณภาพภาครัฐ. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(1), 1–19. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/67001
Section
Academic Article