สุขภาวะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทของประเทศไทย

Main Article Content

Kunwadee Rojpaisarnkit

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สุขภาวะของผู้สูงอายุและปัจจัยทำนายสุขภาวะของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชนบทของไทย ประกอบด้วยตัวแปรปัจจัยภายใน 15 ตัวแปรและปัจจัยภายนอก 3 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นผู้สูงอายุในเขตเมืองจำนวน 1,347 คน และผู้สูงอายุในเขตชนบท จำนวน 871 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multiple regression  ผลการวิเคราะห์สุขภาวะของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบท พบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทมีสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางจิตวิญญาณ และสุขภาวะโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้สูงอายุในเขตเมืองมีค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางกาย สังคม และจิตวิญญาณสูงกว่าผู้สูงอายุในเขตชนบท แต่มีค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางจิตต่ำกว่าผู้สูงอายุในเขตชนบท มีปัจจัย 5 ปัจจัยที่สามารถทำนายสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเมืองคือ โดยตัวแปรทำนายที่ดีที่สุดคือการยอมรับนับถือตนเอง ตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ บุคคลร่วมอาศัย ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมกับชุมชน และสถานภาพสมรส โดยสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะผู้สูงอายุได้ร้อยละ 32.40 (R2 = 0.324, R2adj = 0.317) และมีปัจจัย 5 ปัจจัยที่สามารถทำนายสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตชนบทคือ โดยตัวแปรทำนายที่ดีที่สุดคือการยอมรับนับถือตนเอง ตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพ ลักษณะครอบครัว การมีส่วนร่วมกับชุมชน สภาพทางร่างกายตามการรับรู้ของตนเอง โดยสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะผู้สูงอายุได้ร้อยละ 22.80 (R2 = 0.228, R2adj = 0.219) จากผลการวิจัยที่พบว่าการยอมรับนับถือตนเองเป็นตัวแปรที่ดีที่สุดในการทำนายสุขภาวะผู้สูงอายุทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากงานวิจัยนี้แก่หน่วยงานด้านสุขภาพคือ ควรสนับสนุนให้ครอบครัว ผู้ดูแลผู้ป่วยและชุมชนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้สูงอายุให้เกิดการยอมรับนับถือตนเองเพื่อส่งผลต่อการมีสุขภาวะที่ดีสืบไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. World Health Organization. Report on Aging and Health. Geneva: WHO Press; 2014.
2. Knodel J, Prachuabmoh V & Chayovan N. The Changing Well-being of Thai Elderly An update from the 2011 Survey of Older Persons in Thailand. Bangkok: Foundation for Older Persons’ Development (FOPDEV); 2013.
3. นิลภา จิระรัตนวรรณ, ขนิษฐา นันทบุตร. ปัจจัยเชื่อมโยงสุขภาวะผู้สูงอายุในชนบท. วารสารคณะพลศึกษา 2555; (ฉบับพิเศษ): 179-188.
4. วิทมา ธรรมเจริญ. อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2555.
5. Mahoney FJ, Barthel DW. Functional evaluation: The Barthel Index. Md Med J 1965; 14: 61-5.
6. World Health Organization. Determinant of Health. Online: available https://www.who.int/hia/ evidence/doh/en/; 2013. (10/2/2014).
7. Krejcie RV. & Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3): 607-610.
8. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2553. กรุงเทพฯ: ที คิว พี จำกัด; 2553.
9. Hair JF, Black WC, Babin BJ & Anderson R. Multivariate Data Analysis: Pearson New International Edition. 7th edition. London: Person Education Limited; 2014.
10. Tavakol M. & Dennick R. Making Sense of Cronbach’s Alpha. International Journal of Medical Education 2011; 2:53-55.
11. Baernholdt M, Yan G, Hinton I, Rose K, & Mattos M. Quality of Life in Rural and Urban Adults 65 Years and Older: Findings From the National Health and Nutrition Examination Survey. J Rural Health 2012 Fall; 28(4): 339–347.
12. Uzobo E. & Dawodu OA. (2015). Ageing and Health: A Comparative Study of rural and Urban Aged Health Status in Bayelsa State, Nigeria. European Scientific Journal 2015; 11(14): 258-273.
13. Huy C, Schneider S. & Thiel A. Perception of aging and Health Behavior: Determinants of a Healthy Diet in an Older German Population. The Journal of Nutrition, Health, and Aging 2010; 14(5): 381-385.
14. นนทรีย์ วงษ์วิจารณ์ และ สุปาณี สนธิรัตน์. ทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง ทักษะทางสังคม และความผาสุกในชีวิต ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2556; 39(2): 66-79.
15. Chamroonsawasdi K, Phoolphoklang S, Nanthamongkolchai S, Munsawaengsub C. Factors Influencing Health Promoting Behaviors among the Elderly Under the Universal Coverage Program, Buriram Province, Thailand. Asia Journal of Public Health 2010; 1(1): 15-9.
16. วิรดา อรรถเมธากุล, วรรณี ศรีวิลัย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2556; 7(2): 18-28.
17. เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย และ มาลี สันติถิรศักดิ์. การสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกองการพยาบาล 2553; 37(2): 64-76.
18. พรทิพย์ สุขอดิศัย, จันทร์ชลี มาพุทธ และ รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. วิถีชีวิตและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม 2557; 10(1): 90-102.
19. อาคม บุญเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน เขตรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(1): 25-33.