ทุนชีวิตกับพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

Main Article Content

พรนภา หอมสินธุ์

บทคัดย่อ

Life Assets and Risk Behaviors among Hearing Impaired Adolescents in Central and East Thailand


การศึกษาวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนชีวิตกับพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน    กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นที่ความบกพร่องทางการได้ยิน และกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนโสตศึกษา ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย  จำนวน 226 คนจากการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ทุนชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที  ผลการวิจัย พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีทุนชีวิตโดยรวมผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดีมาก (87.76%)  สูบบุหรี่ร้อยละ 26.5 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 52.2 ทุนชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ ได้แก่ ทุนชีวิตด้านพลังตัวตน (p=.033)  พลังสร้างปัญญา (p=.001)   พลังเพื่อนและกิจกรรม (p=.045)    และพลังชุมชน (p=.002) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่มีทุนชีวิตใดที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นจึงควรสร้างเสริมทุนชีวิตเพื่อเกิดพลังทางบวกและเป็นภูมิคุ้มกันป้องกันวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจากพฤติกรรมเสี่ยง


This descriptive correlational research aimed to explore life assets and risk behaviors including smoking and alcohol drinking, and to examine the relationship between life assets and risk behaviors among hearing impaired adolescents. The subjects were 226 secondary school students in the schools for the deaf in central and eastern Thailand. They were randomly selected with cluster random sampling. Data were collected with self-administered questionnaires including personal data, life assets, and risk behaviors. Statistics including descriptive statistic and t-test were used for data analysis. The findings demonstrated that the subjects’ overall life assets were at a very good level (87.76%). The smoking and alcohol prevalence were 26.5% and 52.2% respectively. Life assets; power of self (p=.033), power of wisdom (p=.001), power of peer and activity (p=.045), and power of community (p=.002) were significantly associated with smoking. No aspect of life assets was related to alcohol drinking. Therefore, life assets should be promoted as a positive power and a protective attribute of the hearing impaired adolescents to abate risk behaviors.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. พิศสมัย อรทัย, พัชรินทร์ นันทจันทร์. การทดสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบประเมินพฤติกรรม
เสี่ยงสำหรับวัยรุ่นไทย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ; 8: 212-221.
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. บทบาทภาครัฐเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.
กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2554.
3. สิจา ลีลาทนาพร. การศึกษาพฤติกรรมในเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. กุมารเวชสาร. 2552; 16:
18-28.
4. Nagarajan VD, Okoli CTC. A systematic review of tobacco use among adolescents with
physical disabilities. Public Health. 2016; 133: 107-115.
5. Murphey DA, Lamonda KH, Carney JK, Duncan P. Relationships of a brief measure of
youth assets to health-promoting and risk behaviors. J Adolesc Health. 2004; 34: 184-191.
6. สุริยเดว ทรีปาตี, อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, พรรรณนิภา สังข์ทอง, สิริวิมล ศาลาจันทร์.
การศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องมือสำรวจต้นทุนชีวิตเยาวชนเพื่อกำหนดแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด.
สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
ยาเสพติด; 2552.
7. Beebe LA, Sesely SK, Oman RF, Tolma E, Aspy, CB, Rodine S. Protective assets for non-use
of alcohol, tobacco and other drugs among urban American Indian youth in
Okalahoma. Matern Child Health J. 2008; 12: S82-S90.
8. Bowers EP, Eye A. Lerner JV, Arbeit MR, Weiner MB, et al. The role of ecological assets in
positive and problematic developmental trajectories. J Adoles. 2011; 34: 1151-1165.
9. Evans AE, Sanderson M, Griffin SF, Reininger B, Vincent ML, Parra-Medina D, et al. An
exploration of the relationship between youth assets and engagement in risky sexual
behaviors. J Adolesc Health. 2004; 35(5): 424.e21-424.e30.
10. Reininger BM, Evans AE, Griffin SF, Sanderson M, Vincent ML, Valois RF, et al. Predicting
adolescent risk behaviors based on an ecological framework and assets. Am J Health
Behav. 2005; 29: 150-161.
11. Vesely SK, Wyatt VH, Oman RF, Aspy CB, Kegler MC, Rodine S, et al. The potential
protective effects of youth assets from adolescent sexual risk behaviors. J Adolesc
Health. 2004; 34: 356-365.
12. Tripathi S. Life assets: A turning point of Thai society. Bangkok: National Institute for Child
and Family Development, Mahidol University; 2011.
13. Madeline. Bronfenbrenner’s Bioecological Model of Development (Bronfenbrenner) in
Learning Theories [Internet]. 2018 [cited 2018 Feb 4]. Available from:
https://www.learningtheories.com/bronfenbrenners-bioecological modelbronfenbrenner.html.
14. สุริยเดว ทรีปาตีและคณะ. คู่มือการเก็บ สรุปและวิเคราะห์ผลข้อมูล “ต้นทุนชีวิต”. แผนงานสุขภาวะ
เด็กและเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; มปป.
15. Parel CP, Caldito GC, Ferrer PL, et al. Sampling design and procedures. Paper for the
Research Training Program of the Philippine Social Science Council, Quezon city; 1973.
16. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์, ปวีณา ปั้นกระจ่าง. สถานการณ์การควบคุม
การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุม
ยาสูบ; 2559.
17. อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, พลเทพ วิจิตรคุณากร, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ข้อเท็จจริงและตัวเลข: เครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ในประเทศไทย. สงขลา: ศูนย์วิจัยสุรา; 2559.
18. สถาพร สาธุการ. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
สำหรับนักศึกษาหุหนวกในระดับอุดมศึกา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550
19. Jarrett T, Pignataro RM. Cigarette smoking among college students with disabilities:
National college health assessment II, Fall 2008-Spring 2009. Disabil Health J. 2013; 6:
204-212.
20. สุริยเดว ทรีปาตี และวิมลทิพย์ มุกสิกพันธ์. คุณภาพชีวิตเด็ก 2556. กรุงเทพฯ: แอ็ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
21. Brice PJ, Strauss G. Deaf adolescents in a hearing world: A review of factors affecting
psychosocial adaptation. Adolesc Health, Med Ther. 2016; 7: 67-76.
22. ศรียา นิยมธรรม. ความบกพร่องทางการได้ยิน: ผลกระทบทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคม. พิมพ์
ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว; 2551.
23. พรนภา หอมสินธุ์. แนวคิด และทฤษฎีสู่การปฏิบัติ: การป้องกันการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ในวัยรุ่น. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์; 2558.