การบาดเจ็บจากการสัมผัสแมงกะพรุนพิษในเขตชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี : อาการทางคลินิกและมาตรการป้องกัน

Main Article Content

นพ.สุริยา โปร่งน้ำใจ

บทคัดย่อ

Toxic Jellyfish Injuries at Bangsaen Beach, Chon Buri Province: Clinical Symptoms and Preventive Measures


The incidence of many tourists on Bangsaen beach, Chon Buri province exposed to the poison of jellyfish. They have rashes on their bodies, arms, and legs. From the lesions, it is caused by the skin, or edible jellyfish in the Scyphozoa class with toxic needles but it is not serious, or cause irritation. Based on the information from the patients who were exposed to poisonous jellyfish at Burapha University Hospital from 2015 to 2017, most of the patients were male aged 0-14, followed by 15-30 years old. The cases were found during the month of July - October and mostly in October. Clinical manifestations measures for prevention and communication are important to help educate and raise concern for tourists, and local people about caring patients exposed to jellyfish poisoning and used as a guideline for surveillance and prevention measures.  


จากอุบัติการณ์นักท่องเที่ยวบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรีจำนวนมาก สัมผัสพิษของแมงกะพรุน มีผื่นแดงตามตัว แขนและขา จากรอยโรคตรวจสอบ พบว่า เป็นแมงกระพรุนหนังหรือแมงกระพรุนส้มโอ (Edible jellyfish) จัดอยู่ในชั้น Scyphozoa มีเข็มที่มีพิษ แต่ไม่ร้ายแรง ทำให้เกิดอาการระคายเคือง จากข้อมูลผู้ป่วยที่สัมผัสแมงกะพรุนพิษที่มารักษา ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ถึง 2560 ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยช่วงอายุ 0-14 ปี รองลงมาคือ 15-30 ปี เพศชายมากกว่าเพศหญิง พบมากในช่วงเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม และมากที่สุดในเดือนตุลาคม การศึกษาอาการทางคลินิก มาตรการในการป้องกันและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่นักท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่สัมผัสพิษแมงกะพรุนและใช้เป็นแนวทางเฝ้าระวังและมาตรการป้องกันในการปฏิบัติที่ดีต่อไป


 

Article Details

บท
บทความพิเศษ (Special Articles)

References

1. เทศบาลเมืองแสนสุข, กระทรวงมหาดไทย. แนะนำเทศบาลเมืองแสนสุข. เข้าถึงได้จาก https://www.saensukcity.go.th/about.html. วันที่ 25 สิงหาคม 2559.
2. Roselieb M, Wilde H, Sitprija V. A fatal jellyfish encounter in the Gulf of Siam. J Travel Med. 2001; 8: 150-1.
3. สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการสัมผัสแมงกะพรุนพิษในประเทศไทย ปี 2546-2551. 2552; 40(6): 89-92.
4. แผนกเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา. ข้อมูลสถิติผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากพิษแมงกะพรุน. 2560; 4: 25-30.
5. สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน. แมงกะพรุน. [online]. เข้าถึงได้จาก https://km.dmcr.go.th/th/c_247. (วันที่ค้นข้อมูล 17 กรกฎาคม 2557).
6. Bentlage B, Cartwright P, Yanaihara A, Lewis C, Richards G, Collins A, Evolution of box jellyfishes (Cnidaria: Cubozoa): a group of highly toxic invertebrates. Proc R Soc B. 2010; 277 (1680):493-501.
7. Tibballs J, Angel A. Yanagihara, Helen C. Turner, Winkel K. Immunological and toxinological responses to jellyfish stings. Inflamm Allergy Drug Targets. 2011;10(5):438-46
8. Barnes RSK, Calow PP& P.J.W. Olive PJW, Golding DW, , J. I. Spicer JI. (with one chapter by D. W. Golding). The invertebrates: a new synthesis. 2nd ed. Blackwell Scientific, USA.; 1993.
9. Fenner PJ. Awareness, Prevention and Treatment of world-wide marine stings and bites. Proceeding of the International Life Saving Federation Medical/Rescue Conference. September, 1997; Queensland, Australia, 1997. 12 pp.
10. Suntrarachun S, Roselieb M, Wilde H & Sitprija V. A fatal jellyfish encounter in the Gulf of Siam. J.Travel.Med. 2001; 8: 150–151.
11. Species 2000 & ITIS Catalogue of Life: April 2013. [online]. เข้าถึงได้จาก: http://catalogueoflife.org/annual-checklist/2013/info/about (วันที่ค้นข้อมูล 20 กรกฎาคม 2560).
12.สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน. คู่มือการศึกษาความหลากหลายของแมงกะพรุนในน่านน้ำไทย. 2558.
13. Makoto Omori & Eiji Nakano. Jellyfish fisheries in southeast Asia. Hydrobiologia.2001; 451: 19-26.
14. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. การสูญเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีน. [online]. เข้าถึงได้จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0936/protein-denaturation (วันที่ค้นข้อมูล 8 ตุลาคม 2561).
15. พจมาน ศิริอารยาภรณ์. พิษจากแมงกะพรุน การรักษาเบื้องต้นและการป้องกัน. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. 2553.