ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของพฤติกรรมองค์กรกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย กรณีศึกษาโรงพยาบาลเกาะสมุย

Main Article Content

ศศิธร ธนะภพ

บทคัดย่อ

The Association between Organization Behavior Factors and Patient Safety Operations: A Case Study of the Koh-Samui Hospital


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง คุณลักษณะบุคคล พฤติกรรมองค์กร และการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในโรงพยาบาล จำนวน 193 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างเองและผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทั้งความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ และสถิติถดถอยโลจิสติกแบบง่าย


                กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 - 30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และเป็นพยาบาลวิชาชีพ ภาพรวมพฤติกรรมองค์กรอยู่ในระดับมาก (  = 88.03, s.d.= 0.801) จากคะแนนเต็ม 120 คะแนน ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลที่อยู่ในระดับดีมาก ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (  = 19.3, s.d.= 0.713)  การพัฒนาคุณภาพงานบริการ (  = 18.50,  s.d. = 0.745 ) การดำเนินงานในระดับยอมรับได้ได้แก่ การเข้าถึงและเข้ารับบริการ ( = 17.59, s.d. = 0.964 ) ระบบบริหารความเสี่ยง ความปลอดภัยและคุณภาพ (  = 17.25, s.d. = 0.773 )  ปัจจัยพฤติกรรมองค์กรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วยได้แก่ ทัศนคติ การรับรู้ และแรงจูงใจโดยมี adjusted-odds ratio  เท่ากับ 4.071, 3.871 และ 2.389 ตามลำดับ


โดยสรุปปัจจัยด้านพฤติกรรมองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลเกาะสมุยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย ผู้บริหารควรตระหนักถึงการดำเนินกิจกรรมพัฒนาองค์กรเชิงพฤติกรรมของบุคลากรทุกระดับเพื่อให้เกิดการคงอยู่อย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงานให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรปลอดภัย


The objectives of this research were to analyze the association of individual characteristics, organization behaviors, and the patient safety operations through the hospital quality standard among the medical personnel of the Koh-Samui hospital. We conducted the survey among 193 medical personnel. The research instrument was self-administered questionnaire which was tested the content validity and reliability. Data collecting were from November to December 2017. The statistical analyses were descriptive statistic, Pearson’s chi-square test, Fisher’s Exact test and simple logistic regression.


The results revealed that most of the samples were female which age ranged between 21-30 years, graduated in bachelor degree and worked as a professional nurse. Overall organization behavior were at a high level (  = 88.03, s.d.= 0.801) with a total of 120 scores. The high level patient safety performance through the hospital quality standard were patient care and high risk service (  = 19.3, s.d.= 0.713) and service quality improvement (  = 18.50,  s.d. = 0.745 ), whereas the acceptable level were the accessibility and service utilization ( = 17.59, s.d. = 0.964 ) and risk management system, safety and quality (  = 17.25, s.d. = 0.773 ). Organization behavior factors which positively associated with the overall patient safety performance were attitudes, perceptionม, and motivation which adjusted-odds ratio equal to 4.071, 3.871 and 2.389, respectively.


In summary, the organizational behavior of the Koh-Samui hospital medical personnel was positively associated with patient safety operations. Executives should be concerned of the corporate behavioral development activities of personnel at all levels in order to maintain consistency. This will affect the development of service quality of the organization to be a safe corporate culture.


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [สืบค้น เมื่อ 18 เมษายน 2560] แหล่งข้อมูล: http://203.157.7.98/et/fileupload_doc/2017-10-25-4-17-2531406.pdf
2. นิติพล ภูตะโชติ. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
3. สายสมร เฉลยกิตติ, พรนภา คำพราว และ สมพิศ พรหมเดช. ความปลอดภัยของผู้ป่วยกับคุณภาพบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(2): 66-70.
4. โรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานการให้บริการ ปี พ.ศ. 2560. สุราษฎร์ธานี: กลุ่มงานสารสนเทศ; 2560.
5. ณัฐกฤษฎ์ ธรรมกวินวงศ์ และ ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 3. วารสารพุทธชินราชเวชสาร 2559; 33(2): 178-198.
6. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น; 2554.
7. Best, J. W.. Research in education. New Delhi India: Prentice Hall of India; 2006.
8. สุนทร บุญบำเรอ. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทางานของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2557; 20(2): 82-92.
9. อารีย์ แก้วทวี และ จรรยา วงศ์กิตติถาวร. วัฒนธรรมความปลอดภัยของบุคลากรห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร 2553; 28(3): 117-125.
10. พร บุญมี และ เฉลิมพรรณ์ เฆมลอย. วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2554; 4(3): 48-62.
11. อนงค์ ถาวร, พร บุญมี และ เกษร เกตุชู. วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2557; 8(2): 6-16.
12. สาธกา ธาตรีนรานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.
13. นภาพร ถิ่นขาม, นิตยา เพ็ญศิรินภา และ อารยา ประเสริฐชัย. วัฒนธรรมความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2557; 7(25): 65-75.