การเปรียบเทียบทักษะการทำงานประสานกันระหว่างมือ-ตา ระหว่างกลุ่มเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่อง เด็กโรคออทิซึมสเปกตรัม และเด็กปกติ

Main Article Content

Suchanart Tongprung

บทคัดย่อ

A Comparison of Visual-motor Integration Skills in Children with Specific Learning Disorders, Autism Spectrum Disorders, and Normal Children


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบทักษะการทำงานประสานกัน
ระหว่างมือ-ตา ในกลุ่มเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่อง โรคออทิซึมสเปกตรัม และเด็กปกติ คัดเลือก
ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มละ 30 คน รวม 90 คน โดยกลุ่มเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่องและ
กลุ่มเด็กโรคออทิซึม-สเปกตรัม เป็นเด็กที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี
ส่วนเด็กปกติ กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่
การศึกษาจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการประเมินเป็นรายบุคคล โดยประเมินทักษะ
การทำงานประสานกันระหว่างมือ-ตา ด้วยแบบทดสอบ Bender Visual-Motor Gestalt Test,
Second Edition (Bender-Gestalt II)โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และค่าร้อยละ ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติแบบ One - way ANOVA
ในการวิเคราะห์ผลการทดสอบจากแบบทดสอบ Bender-Gestalt II และวิเคราะห์ความแตกต่าง
รายคู่ ด้วยวิธีการ Scheffé และด้วยวิธีการ Dunnett’s T3.
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนจากแบบทดสอบ Bender-Gestalt II แตกต่างกัน
ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการเปรียบเทียบรายคู่แสดงให้เห็นว่าเด็กปกติ
มีคะแนนจากแบบทดสอบ Bender-Gestalt II มากกว่า เด็กโรคการเรียนรู้บกพร่อง และเด็ก
โรคออทิซึมสเปกตรัมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่อง
มีคะแนนจากแบบทดสอบ Bender-Gestalt II ทุกด้านไม่แตกต่างกับเด็กโรคออทิซึมสเปกตรัม
ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เด็กปกติมีทักษะการทำงานประสานกันระหว่างมือ-ตา ดีกว่าเด็ก
โรคการเรียนรู้บกพร่อง และเด็กโรคออทิซึมสเปกตรัมทุกด้าน และผลที่ได้จากการทดสอบ Bender-
Gestalt II ในเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่องและโรคออทิซึมสเปกตรัม ใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน หรือส่งเสริมพัฒนาการ ให้ตรงกับความบกพร่องของเด็กแต่ละคน เพื่อประโยชน์
ในการเรียนระดับที่สูงขึ้น การประกอบกิจวัตรประจำวัน ตลอดจนการประกอบอาชีพในอนาคต


In this research investigation, the researcher compares the test results
for visual-motor integration skills in children with specific learning disorders,
autism spectrum disorders, and those for normal children. Two specific sample
groups of 30 children each, and 30 normal children were selected for the study.
Children with a specific learning disorder and with autism spectrum disorder were
admitted for treatment at a hospital in Ratchaburi province. Normal children were
studying at primary and secondary in schools in the Ratchaburi- Educational
Service Area. All sample groups were individually evaluated on the visual-motor
integration skills with the Bender Visual-Motor Gestalt Test, Second Edition
(Bender-Gestalt II). Basic Statistics, Mean, Standard Deviation and Percentage
were used to describe the personal data of sample groups, and the One-way
ANOVA were used to analyze the results of the Bender-Gestalt II. Scheffé’s method
were used and Dunnett’s T3 method to analyze the differences in pair.
The results of the research revealed that the members of the sample population
exhibited concomitant differences in scores on the Bender-Gestalt II in all aspects
at the statistically significant level of .01. Multiple comparisons showed that normal
children evinced corresponding scores on Bender-Gestalt II at a higher level than
those in the specific learning disorders and the autism spectrum disorders in all
aspects at a statistically significant level of .05. However, children in the specific
learning disorders did not display associated differences in scores on the Bender-                                        Gestalt II in all aspects in comparison with those belonging to the autism spectrum
disorders at a statistically significant level of .01. Normal children have better
visual-motor integration skills than children with specific learning disorders and
autism spectrum disorders in all aspects, and the results obtained from the Bender-
Gestalt II in children with specific learning disorders and autism spectrum disorders
will be applied to plan the schooling activities or to support their developments by
matching with each child’s individual disorders for their benefits in learning in
higher levels, doing daily routines as well as earning a living in the future.


 


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์.จิตเวชศาสตราสตร์รามธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
2. นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤตยาคามี, สุพร อภินันทเวช และพนม เกตุมาน. จิตเวช ศิริราช DSM-5.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์; 2558.
3. Speaker R. Scott Benson, M.D. and Speaker-Elect Melinda L.Young, M.D. Diagnostic and statistical manual of mental disorders fifth edition DSM-5; 2013.
4. ศรีเรือน แก้วกังวาน. จิตวิทยาเด็กที่มีลักษณะพิเศษ.กรุงเทพฯ :หมอชาวบ้าน; 2550.
5. กุลยา ก่อสุวรรณ. การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทริโรฒ; 2553.
6. วนิดา ชนินทยุทธวงศ์, ประเสริฐ จุฑา, จันทนี มุ่งเขตกลาง และอัจจิมา ศิริพิบูลย์ผล. การวิจัยนำร่อง
การศึกษาความสามารถทางเชาวน์ปัญญาในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และเด็กปกติด้วยแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานจิตวิทยา สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
7. สถาบันราชานุกูล. เด็กแอลดี คู่มือสำหรับครู. กรุงเทพฯ: บียอนต์ พับลิสซิ่งจำกัด; 2555.
8. สถาบันราชานุกูล. เด็กออทิสติก คู่มือสำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.
9. Ramsden P. Understanding Abnormal Psychology: Clinical and Biological Perspectives. Los Angeles: SAGE; 2013.
10. พัชรี ยุทธพัฒนพร. Neuroimaging in child & adolescent psychiatric disorder [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชาจิตเวชศาสตร์; 2559. [เข้าถึงเมื่อ9 ก.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก:https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Neuroimaging %20in%20child%20%26%20adolescent%20psychiatric%20disorder.
11. Dilip R, Donald E, Hatim A & Joav M. Neurodevelopment-Disorders. London New York: Springer Dordrecht Heidelberg; 2011.
12. กุลยา ก่อสุวรรณ. เด็กออทิสติก: สอนไม่ยากหากเข้าใจ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทริโรฒ; 2553.
13. ศรีเรือน แก้วกังวาน. จิตวิทยาเด็กและผู้ใหญ่ที่มีลักษณะพิเศษ:ด้อยความสามารถทางการเรียน (LD) สมาธิสั้น ไฮเปอร์แอกทีฟ ปัญญาเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2556.
14. Brannigan GG and Decker SL. Bender Visual-Motor Gestalt Test Second Edition. America: Riversude; 2003.
15. จิตรจิรา ฤทธิกุลสิทธิชัย. การศึกษาแบบทดสอบ เบนเดอร์วิชวลมอเตอร์ เกสตัลท์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาจิตวิทยาคลินิก, คณะแพทยศาสตร์-
ศิริราชพยาบาล: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.
16. สมชาย วรกิจเกษมสกุล. สถิติประยุกต์เพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2554.
17. ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง และคณะ.การเปรียบเทียบผลคะแนนด้านการทำงานประสานกันระหว่างมือ-ตา ระหว่างเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้และเด็กปกติ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน, คณะศึกษาศาสตร์: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2560.
18. Martin AV. Comparison of the Bender Gestalt-II and VMI-V in Samples of Typical Children and Children with High-Functioning Autism Spectrum Disorders. Journal of Psychoeducational Assessment. June, 28, 187-200; 2010.
19. มีชัย ศรีใส. ประสาทกายวิภาคศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: Year Book Publisher Co.,ltd; 2557
20. พีรดา อุ่นไพร. ความจำในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาจิตวิทยาคลินิก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
21. รำแพน พรเทพเกษมสันต์.กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยาของมนุษย์.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:
ศิลปาบรรณาคาร; 2556.
22. นนทชนนปภพ ปาลินทร. เอกสารประกอบการเรียน สมอง : สิ่งมหัศจรรย์ในร่างกายมนุษย์.
เอกสารอัดสำเนา, โรงเรียนบ้านนาบัว; 2559.
23. Oliver KB. Visual, Motor, and Visual-Motor Integration Difficulties in Students with Autism Spectrum Disorders. Doctoral dissertation, Georgia State University, Georgia; 2013.
24. มานิกา วิเศษสาธร. การศึกษาเปรียบเทียบผลการทดสอบด้านกระบวนการรับรู้ทางสายตาระหว่าง เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนกับเด็กปกติ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาจิตวิทยาคลินิก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.