ทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ธัญพัฒน ฤทธิผล
พรนภา หอมสินธุ์
ยุวดี ลีลักขณาวีระ

บทคัดย่อ

Life Assets and Factors Related to Repeated Pregnancy in Adolescents, Ubon Ratchathani Province


           การศึกษาเชิงหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือมารดาวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มีอายุ 10-19 ปี และฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลของรัฐบาล จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 192 คน เครื่องมือประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์  แบบสอบถามเจตคติต่อการตั้งครรภ์ซ้ำ และแบบสอบถามทุนชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ  Binary logistic regression


                ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนการตั้งครรภ์ซ้ำ ร้อยละ 31.3 ส่วนทุนชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 61.81) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุนชีวิตด้านพลังครอบครัวอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 70.05) พลังตัวตนอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 65.02) ส่วนพลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน ไม่ผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 59.45, 59.19 และ 54.83 ตามลำดับ) และพบว่าทุนชีวิตไม่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่  เจตคติต่อการตั้งครรภ์ซ้ำ (AOR = 3.34, 95% CI = 1.561-6.770) และเพื่อนรุ่นเดียวกันตั้งครรภ์ซ้ำ (AOR = 2.56, 95% CI = 1.651-6.770)


               ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมที่เน้นการส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นมีเจตคติต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ถูกต้อง และมีกิจกรรมสร้างสรรค์ในระดับต่างๆทั้งที่โรงเรียน ชุมชนและสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้วัยรุ่นมีสัมพันธภาพกับเพื่อนส่วนใหญ่ที่มิได้มีพฤติกรรมเสี่ยง    ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นต่อไป


 


               The purposes of this correlational research were to study life assets and factors related to repeated pregnancy among pregnant adolescents. The sample was 192 pregnant adolescents aged 10-19 years old who have received antenatal care from government hospitals in Ubon Ratchathani province. The instruments included demographic and pregnant data, attitude towards repeated pregnancy, and life asset questionnaires.  Data were analyzed using descriptive statistics and binary logistic regression.


                Findings of the study showed that 31.3 % of the sample had repeated pregnancy. The overall life assets’ pregnant adolescents were at fair level (61.81%). Among those 5 powers, the power of family was at a good level (70.05%); the power of self was at a fair level (65.02%); the power of wisdom, power of peer and activity, power of community and were not passing criteria (59.45%, 54.83% and 59.19 respectively). Those life assets were not related to repeated pregnancy. The significant factors related to repeated pregnancy were attitude towards repeated pregnancy (AOR = 3.34, 95% CI = 1.561-6.770), and peer repeated pregnancy (AOR = 2.56, 95% CI = 1.651-6.770)            


                Those who are involved should develop programs focusing on enhancing attitude toward repeated pregnancy and creating activities which are available in all setting; schools, communities, and societies. These will provide a chance for adolescents to make a relationship with peers not having risk behaviors, so as to prevent them from repeated pregnancy.


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักอนามัยเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน. 2559. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/index (วันที่ค้นข้อมูล 10 มกราคม 2561)
2. สำนักอนามัยเจริญพันธุ์. ท้องถิ่นเข้มแข็งเข้าใจวัยรุ่น: แนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2558.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. สรุปการตั้งครรภ์คลอดและการคุมกำเนิดของแม่อายุน้อยกว่า 19 ปี เขตบริการสุขภาพที่ 10. 2560. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://hdc.phoubon.in.th/hdc/reports/report.php. (วันที่ค้นข้อมูล 10 มีนาคม 2561)
4. สลักเกียรติ พัฒนขจร. อุบัติการณ์การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ในโรงพยาบาลศรีบุญเรือง. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2556; 10(3), 86-91.
5. วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่คลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลบางใหญ่. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 2555; 29(2), 82-92.
6. วรรณรัตน์ จงเจริญยานนท์, ธัญญลักษณ์ ศิริชนะ และวิลาวัณย์ กล้าแรง. การพยาบาลสูติศาสตร์. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2551.
7. สุริยเดวทรี ปาตี. สร้างต้นทุน (ชีวิต) คุณทำได้. ปทุมธานี: รวมทวีผลการพิมพ์; 2552.
8. Murphey DA, Lamonda KH, Carney JK, Duncan P. Relationships of a brief measure of youth assets to health-promoting and risk behaviors. Journal of Adolescent Health. 2004; 34: 184-191.
9. Bronfenbrenner U. Ecological Models of Human Development. International Encyclopedia of Education, Retrieved. 1994. from: https://www.psy. cmu.mu.edu/siegler/35bronfenbrenner94.pdf.
10. Parel CP. Sampling design and Procedures. Paper for the Research Training Program Of the Philippine Social Science Council, Quezon city: MC Graw-Hill Book. 1973.
11. อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์. ที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2558; 30(3), 262-269.
12. Ajzen I. The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes. 1991; 50: 179-211.
13. สุริยเดวทรี ปาตี. ต้นทุนชีวิต...จุดเปลี่ยนสังคมไทย. กรุงเทพฯ: รวมทวีผลการพิมพ์; 2554.
14. จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์. การสื่อสารในครอบครัวเพื่อป้องกันพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคมของเยาวชนไทยในภาคกลาง.วารสารวิจัย SDU มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2559; 12(3), 165-182.
15. สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2551.
16. Ajzen I, Fishbein M. Attitudes and the attitude-behavior relation: Reasoned and automatic processes. 1998; 11: 1-33.
17. Flay BR, Petraitis, J. The Theory of Triadic Influence: A New Theory of Health Behavior with Implications for Preventive Interventions. Advances in Medical Sociology. 1994; 4: 19-44.
18. Bull S, Hogue CJR. Exploratory Analysis of Factors Associated with Teens’ repeated Childbearing. Journal of Health Care for the Poor and Underserved. 1998; 9: 42-61.
19. Rosengard C, Phipps M, Adler NE, Ellen JM. Adolescent Pregnancy Intentions and Pregnancy outcomes: A longitudinal examination. Journal of Adolescent Health. 2004; 35: 453-461.
20. ณฐาภพ ระวะใจ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.
21. Gillmore MR, Lewis SM, Lohr MJ, Spencer MS, White RD. Repeat Pregnancies Among Adolescent Mothers. Journal of Marriage and Family. 1997; 59: 536-550.
22. ปฏิญญา เอี่ยมสำอาง, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556; 8(1), 55-67.
23. วีระ ดุลชูประภา. วัยรุ่นกับการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด. 2552. (ออนไลน์). เข้าถึงได้ จาก https://www.jvkk.go.th/jvkkfirst/ story/health/44.htm (วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤษภาคม 2562).
24. อาภรณ์ ดีนาน. แนวคิด &วิธีการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ไฮเดนกรุ๊ปปริ้น แอน มีเดีย จำกัด; 2551.
25. Murphey DA, Lamonda, KH, Carney JK, Duncan P. Relationships of a brief measure of youth assets to health-promoting and risk behaviors. Journal of Adolescent Health. 2004; 34: 184-191.
26. สุรีรัตน์ เวียงกมล, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ระยะแรกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลายจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 2560; 31(2), 90-107.
27. นุชนาถ โรจนธรรม, พรนภา หอมสินธุ์, และฉันทนา จันทวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างทุนชีวิตกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นหญิง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 2560; 34(4), 282-293.