ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยื่นขอปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดี ในการผลิตขั้นต้น ของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเขตจังหวัดภาคตะวันออก

Main Article Content

Jirasan Meerattanawat
Panoopat Pumpruk

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยื่นขอปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเขตจังหวัดภาคตะวันออก โดยการส่งแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นไปให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตจังหวัดภาคตะวันออก 4 จังหวัด นำแบบสอบถามไปให้ประชากรของการศึกษา จำนวน 225 แห่งตอบแบบสอบถาม มีอัตราตอบกลับของกลุ่มตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 90.2 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน   ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆ กับการยื่นขอปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ผลการวิจัยพบว่า ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำการผลิต (P-value = 0.027) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของสถานประกอบการ (P-value = 0.001) และระยะเวลาดำเนินกิจการของสถานประกอบการ (P-value = 0.006) ปัจจัยด้านการประกอบกิจการ (ตามหลัก 4 M) ปัจจัยด้านการให้บริการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ตามหลัก 4 P’s) และปัจจัยด้านลูกค้า ต่อผลิตภัณฑ์ (ตามหลัก 4 P’s) มีผลกับการยื่นขอปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α =0.05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของสถานประกอบการ ปัจจัยด้านการประกอบกิจการ ปัจจัยด้านการให้บริการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และปัจจัยด้านลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์กับการยื่นขอปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น โดยเฉพาะปัจจัยด้านลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ ในเรื่องผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกค้าจะมีความมั่นใจ คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์สูงขึ้น (มีเลข อย.)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. สรุปผลการดำเนินงาน โครงการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2555; 2556
2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือ การขออนุญาตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Primary GMP). ฉบับปรับปรุง; 2555
3. กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบ การประชุมสรุปผลการตรวจราชการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 คณะที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค; 2556
4. กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบ สรุปภาพรวมเขต ผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ ระดับกระทรวง ปีงบประมาณ 2556 เขตตรวจราชการที่ 6 รอบที่ 2; 2556
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. ผลการดำเนินงานบริการ ต่ออายุใบอนุญาตสถานประกอบการด้าน สถานที่ผลิตอาหาร ร้านขายยา และสถานพยาบาล จังหวัดชลบุรี ระหว่างปี พ.ศ.2553 – พ.ศ. 2556; 2556
6. หลักการบริหารและการจัดการที่น่ารู้. เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม เข้าถึงได้จาก
http://53011311093.blogspot.com/2012/09/blog-post_3.html; 2557
7. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. ส่วนประสมทางการตลาด. เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม. เข้าถึงได้จากhttp://academic.udru.ac.th/~samawan/content/02maketingMix.pdf; 2557
8. ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. พฤติกรรมผู้บริโภค. เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม. เข้าถึงได้จาก http://elearning.bu.ac.th/mua/course/mk212/ch4.htm; 2557
9. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1. การศึกษา วิเคราะห์การดำเนินงาน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2554
10. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานการวิจัยเรื่อง โครงการวิจัยสถานการณ์พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้บริโภค; 2557