การสำรวจด้านความปลอดภัยและการชี้บ่งอันตรายต่อสุขภาพในคนงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาบริษัทก่อสร้างที่พักอาศัยในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

Sunisa Chaiklieng

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านการจัดการความปลอดภัยและบ่งชี้อันตรายต่อสุขภาพจากการทำงานของคนงานก่อสร้างที่พักอาศัยในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนการทำงาน ได้แก่ งานดินและงานฐานราก งานโครงสร้าง และงานระบบและงานตกแต่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มการสำรวจในพนักงานทั้งหมด 80 คน ที่ทำงานก่อสร้างที่พักอาศัยจำนวน 5 แห่ง ผลการสำรวจพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในงานโครงสร้างมากที่สุด ร้อยละ 68.75 งานโครงสร้างมีพนักงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามความเสี่ยงของงานมากที่สุด (ร้อยละ 50) งานดินและงานฐานรากและงานระบบและงานตกแต่งมีผลสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกผ่านมาตรฐานร้อยละ 62.50 งานดินและงานฐานรากมีการควบคุมทางวิศวกรรมผ่านมาตรฐานร้อยละ 54.54 ซึ่งใกล้เคียงกับงานระบบและงานตกแต่ง ที่พบร้อยละ 52.63 การชี้บ่งอันตรายของงานก่อสร้างพบสิ่งคุกคามจากเครื่องมือเครื่องจักรส่งผลอันตรายทางสุขภาพเกี่ยวกับการกระแทก ชน หล่น ทับและตกจากที่สูง ดังนั้นเจ้าของสถานประกอบกิจการควรให้ความสำคัญในการป้องกันการบาดเจ็บและอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะอันตรายจากการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร ซึ่งเป็นสาเหตุการบาดเจ็บ และด้านการควบคุมทางวิศวกรรมในเขตก่อสร้าง เช่น นั่งร้าน แผงไฟฟ้าชั่วคราว บันได อุปกรณ์ในงานเชื่อม และถังแก๊สต่างๆ เป็นต้น ในพื้นที่เขตก่อสร้างต้องติดป้ายสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัย การจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของงาน ผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)
Author Biography

Sunisa Chaiklieng, Faculty of Public Health, Khon Kaen University Khon Kaen, Thailand

Department of Environmental and Occupational Health, and Safety, Thailand

References

กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม. สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2552-2556. กรุงเทพฯ:กระทรวงแรงงาน; 2559.

Gürcanli GE, Müngen U, Akad M. Construction Equipment and Motor Vehicle Related Injuries on Construction Sites in Turkey. Industrial Health 2008; 46(4): 375-88.

Tam CM, Zeng SX, Deng ZM. Identifying elements of poor construction safety management in China. Saf Sci 2004; 42(7): 369-586.

Ismail Z, Doostdar S, Harun Z. Factors influencing the implementation of a safety management system for construction sites. Saf Sci 2012; 50(3): 418-23.

สุดปรารถนา จารุกขมูล, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การรับรู้อันตรายและการบาดเจ็บจากการทำงานของคนงานก่อสร้าง: กรณีศึกษาบริษัทก่อสร้างที่พักอาศัย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 19(5): 683-95.

Kongtip P, Yoosook W, Chantanakul S. Occupational health and safety management in small and medium-sized enterprises: an overview of the situation in Thailand. Saf Sci 2008; 46(9): 1356-68.

Jeong BY. Occupational deaths and injuries in the construction industry. J Appl Ergon 1998; 29(5): 355-60.

บุญชัย สอนพรหม. การศึกษาทัศนคติของคนงานก่อสร้างต่อสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุใน อุตสาหกรรมก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท เอส ดับบลิว ที เทคโนโลยี แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555.

Aksorn T, Hadikusumo BHW. Critical success factors influencing safety program performance in Thai construction projects. Saf Sci 2008; 46(4): 709-27.

ศิวกร หวังปักกลาง. การศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยงของการก่อสร้างอาคารสูง ในเขตเทศบาลเมืองพัทยา. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555.

Janicak, CA. Occupational fatalities due to electrocutions in the construction industry. J Safety Res 2008; 39(6): 617-21.

Whitaker SM, Graves RJ, James M, McCann P. Safety with access scaffolds: Development of a prototype decision aid based on accident analysis. J Safety Res 2003; 34(3): 249-61.

Rivara FP, Thompson DC. Prevention of falls in the construction industry evidence for program effectiveness. Am J Prev Med 2000; 18(4): 23-6.

Arditi D, Lee DE, Polat G. Fatal accidents in nighttime vs. daytime highway construction work zones. J Safety Res 2007; 38(4): 399-405.

Jin TG, Saito M, Eggett DL. Statistical comparisons of the crash characteristics on highways between construction time and non-construction time. Accident Analysis and Prevention 2008; 40(6): 2015-23.

Nunes KR, Mahler CF, Valle RA. Reverse logistics in the Brazilian construction industry. J Environ Manage 2009; 90(12): 3717-20.

Baron J, Strome TL, Francescutti LH. The construction flagperson: A target for injury. Occup Med 1998; 48(3): 199-202.

Cambraia FB, Saurin TA, Formoso CT. Identification, analysis and dissemination of information on near misses: A case study in the construction industry. Saf Sci 2010; 84(1): 91-9.